วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ETC. คำต่างๆที่ไม่สามารถอธิบายได้

1.Access   หมายถึง การเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ในหน่วยเก็บ (storage) หรือการที่สามารถดึงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยเก็บออกมาใช้ได้

2.Auditing  การตรวจสอบที่กระทำอย่างอิสระเพื่อให้มั่นใจว่าบันทึกและกิจกรรมต่างๆ เป็นไปตามการควบคุม นโยบาย และระเบียบปฏิบัติที่ได้จัดตั้งขึ้น

3.Availability  หมายถึงสภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พร้อมจะทำงานได้

4.Clean Desk Policy นโยบายการจักเก็บเอกสาร

5.Computer Security การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล คือ เทคนิคและวิธีการต่างๆ ที่ใช้ป้องกันการ
ลักลอบแอบดูข้อมูล การเปลี่ยนแปลง การแทน หรือ การทำลายข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาต

6.Confidential information  การรักษาความลับของข้อมูลสารสนเทศ

7.Confidentiality การรักษาความลับของข้อมูลที่เก็บไว้  หรือส่งผ่านทางเครือข่ายโดยป้องกันไม่ให้ผู้อื่นที่ไม่มีสิทธิ์ลักลอบดูได้

8.intruder  บุคคลที่จะโจมตีหรือบุกรุกระบบ

9.Malicious User ผู้ใช้ที่มีความประสงค์ร้าย

10.Policy กฎและข้อห้ามต่าง ๆ ที่ผู้ดูแลเป็นผู้กำหนด

11.Principle of Least Privelege หลักการให้สิทธิ์แก่ผู้ใช้งาน

Worm ไวรัสหนอน จึ๊กๆ

หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm )
หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm) คืออะไร

หนอน (Worms) ในอีกความหมายหนึ่ง เป็นสิ่งที่อันตรยต่อระบบมาก (สามารถทำความเสียหายต่อระบบได้จากภายใน เหมือนกับหนอนที่กัดกิน ผลไม้จากภายใน) โดยทั่วไปก็จะคล้ายกับไวรัสคอมพิวเตอร์ และด้วยการอาศัยพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ยุค IT ในการแพร่กระจายตัวเองไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น หนอนร้าย เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถแพร่กระจายตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยอาศัยระบบเน็ตเวิร์ค (e-Mail) ซึ่งการแพร่กระจายสามารถทำได้ด้วยตัวของมันเองอย่างรวดเร็ว และรุนแรงกว่าไวรัสมาก

คอมพิวเตอร์ของคุณติดเวิร์มได้ด้วยวิธีใด

แฮกเกอร์คือผู้ที่เชี่ยวชาญในการแฝงคอมพิวเตอร์เวิร์มในรูปของเอกสารแนบอีเมล เมื่อผู้ใช้ที่ไม่ระวังตัวเปิดเอกสารแนบดังกล่าว เวิร์มนั้นก็จะเริ่มทำงานตามที่แฮกเกอร์ต้องการให้ทำทันที เช่น เวิร์มดังกล่าวจะส่งตัวเองในรูปของเอกสารแนบอีเมลโดยอัตโนมัติไปยังทุกคนที่มีรายชื่อในสมุดอีเมลแอดเดรสของผู้ใช้นั้น เวิร์ม Mydoom ซึ่งปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2004 ใช้เทคนิคที่ดูเหมือนไม่มีอันตรายในการหลอกให้ผู้ใช้คลิกที่ไฟล์แนบนั้น ผู้สร้างเวิร์มดังกล่าวได้บรรจงออกแบบ ข้อความแจ้งเตือนอีเมลที่ดูเหมือนไม่มีพิษภัยขึ้นมาจำนวนหนึ่ง โดยใช้ชื่อหัวเรื่องต่างๆ เช่น "Mail Deliver System" "Test" หรือ "Mail Transaction Failed" ซึ่งโดยปกติคุณคงได้รับ อีเมลประเภทนี้เป็นประจำอยู่แล้ว ข้อความเหล่านี้โดยปกติเป็นข้อความที่เป็นทางการที่ใช้ในการแจ้งให้เราทราบว่ามีข้อความอีเมลที่เราส่งออกไปข้อความหนึ่งไม่ถึงมือผู้รับตามที่เราตั้งใจ โดยทั่วไป ข้อความเหล่านี้มักมีภาษาเทคนิคที่เราอ่านไม่เข้าใจ ผู้สร้างเวิร์ม Mydoom จึงเลียนแบบภาษาเทคนิคดังกล่าวในลักษณะที่ทำให้ตนสามารถหลอกคนเป็นล้านๆ คนให้เปิดเอกสารแนบนั้นได้

Mydoom เวอร์ชันหลังๆ จะใช้กลยุทธ์ขู่ให้กลัว เช่น การส่งอีเมลที่ดูเหมือนว่าเป็นอีเมลจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของคุณ แจ้งเตือนคุณว่ามีเวิร์มติดในระบบของคุณและ วิธีเดียวที่จะสามารถทำลายเวิร์มดังกล่าวได้ก็คือเปิดเอกสารแนบนั้น ถึงตอนนี้คุณคงเดาออกแล้วว่า เอกสารแนบเหล่านั้นมีเวิร์มแอบแฝงอยู่

เวิร์มแพร่กระจายจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้อย่างไร

วิธีการแพร่กระจายของเวิร์มที่แอบแฝงยิ่งกว่าเดิมก็คือการส่งอีเมลที่มีเอกสารแนบที่เป็นอันตรายจำนวนมากขึ้น ไปยังทุกคนที่มีรายชื่ออยู่ในสมุดอีเมลแอดเดรสของผู้ใช้คนหนึ่ง เพื่อแพร่กระจายต่อไป ด้วยวิธีนี้ เวิร์มดังกล่าวจึงแฝงตัวในอีเมลที่ดูเหมือนว่าส่งมาจากเพื่อนที่ผู้รับรู้จักและไว้วางใจได้ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการเปิดเอกสารแนบของอีเมล์

การทำความเสียหาย

นอกเหนือจากการแพร่ขยายตัวเองแล้ว เวิร์มยังสามารถถูกกำหนดให้ทำสิ่งอื่นๆ ได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น Mydoom ได้ถูกออกแบบมาในลักษณะที่คอมพิวเตอร์ที่ติดเวิร์มดังกล่าว (เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "คอมพิวเตอร์ผีดิบ") จะทำความเสียหายต่อเป้าหมายบางอย่างตามที่กำหนดและในเวลาที่กำหนด การโจมตีนี้เรียกว่า การโจมตี "Distributed Denial of Service" (DDoS) ซึ่งได้รับการออกแบบให้ถล่มเครือข่ายด้วยการส่งข้อมูลจำนวนมากเข้าไปอย่างท่วมท้น มีผลให้เครือข่ายนั้นล่ม

การป้องกันและการทำลายเวิร์ม

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเวิร์มคือการใช้ความระมัดระวังในการเปิดเอกสารแนบอีเมล หากคุณได้รับเอกสารแนบที่อยู่ในอีเมลจากเพื่อน วิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือ ให้ติดต่อเพื่อนคนนั้นแล้วถามว่าได้ตั้งใจส่งเอกสารแนบดังกล่าวมาให้จริงหรือไม่ และหากว่าคุณได้รับเอกสารแนบในอีเมลจากใครบางคนที่คุณไม่รู้จัก วิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือลบอีเมลฉบับนั้นทิ้ง

VPN (Virtual Private Network)

VPN หรือ Virtual Private Network หมายถึง เครือข่ายเสมือนส่วนตัว ที่ทำงานโดยใช้ โครงสร้างของ เครือข่ายสาธารณะ หรืออาจจะวิ่งบน เครือข่ายไอพีก็ได้ แต่ยังสามารถ คงความเป็นเครือข่ายเฉพาะ ขององค์กรได้ ด้วยการ เข้ารหัสแพ็กเก็ตก่อนส่ง เพื่อให้ข้อมูล มีความปลอดภัยมากขึ้น

อย่างไรก็ดี คำว่า VPN จะครอบคลุมทั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (เช่น Gateway และ Router), ซอฟต์แวร์ และส่วนที่เป็นไฟร์วอลล์ 
การเข้ารหัสแพ็กเก็ต เพื่อทำให้ข้อมูล มีความปลอดภัยนั้น ก็มีอยู่หลายกลไกด้วยกัน ซึ่งวิธีเข้ารหัสข้อมูล (encryption) จะทำกันที่เลเยอร์ 2 คือ Data Link Layer แต่ปัจจุบัน มีการเข้ารหัสใน IP Layer โดยมักใช้เทคโนโลยี IPSec (IP Security)

ปกติแล้ว VPN ถูกนำมาใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีสาขาอยู่ตามที่ต่างๆ และต้องการ ต่อเชื่อมเข้าหากัน โดยยังคงสามารถ รักษาเครือข่ายให้ใช้ได้เฉพาะ คนภายในองค์กร หรือคนที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ลูกค้า, ซัพพลายเออร์ เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว กลไกในการสร้างโครงข่าย VPN อีกประเภทหนึ่ง คือ MPLS (Multiprotocal Label Switch) เป็นวิธีในการส่งแพ็กเก็ต โดยการใส่ label ที่ส่วนหัว ของข้อความ และค่อยเข้ารหัสข้อมูล จากนั้น จึงส่งไปยังจุดหมายปลายทาง เมื่อถึงปลายทาง ก็จะถอดรหัสที่ส่วนหัวออก วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้วางระบบเครือข่าย สามารถแบ่ง Virtual LAN เป็นวงย่อย ให้เป็น เครือข่ายเดียวกันได้

ตัวอย่างเช่น บริษัท A ก็จะได้ VPN label A ที่หัวข้อความ ของทุกแพ็กเก็ต บริษัท B ได้รหัสที่หัวข้อความเป็น B เพื่อส่งข้อมูล ข้อมูลที่ส่งออกไป ก็จะวิ่งไปหาปลายทางตาม Label ของตน ซึ่งผู้วางระบบ สามารถเพิ่มกลุ่มในวง VLAN ได้อย่างไม่จำกัด

รูปแบบบริการ VPN
บริการ VPN แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ 

1. Access VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย VPN จากอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ซึ่งสามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ใน 2 ลักษณะ โดยลักษณะแรก เป็นการเข้าถึงจากไคลเอ็นต์ใดๆ ก็ได้ โดยอาศัย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นตัวกลาง ในการติดต่อ ซึ่งจะมีการเข้ารหัสในการ ส่งสัญญาณ จากเครื่องไคลเอ็นต์ ไปยังไอเอสพี และลักษณะที่สอง เป็นการเข้าถึง จากเครื่องแอ็กเซสเซิร์ฟเวอร์ (Network Access Server-NAS) โดยเริ่มต้นจาก ผู้ใช้หมุนโมเด็ม ติดต่อมายังไอเอสพี และจากนั้น จะมีการเข้ารหัสข้อมูล และส่งต่อไปยังปลายทาง

2. Intranet VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย VPN ที่ใช้เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น อาทิ การต่อเชื่อมเครือข่าย ระหว่างสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ และสาขาย่อย ในต่างจังหวัด เสมือนกับ การทดแทน การเช่าวงจรลีสไลน์ ระหว่าง กรุงเทพกับต่างจังหวัด โดยที่แต่ละสาขา สามารถ ต่อเชื่อมเข้ากับ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ในท้องถิ่นของตน เพื่อเชื่อมเข้า โครงข่าย VPN ขององค์กรอีกทีหนึ่ง

3. Extranet VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย ที่คล้ายกับ Intranet VPN แต่มีการขยายวงออกไป ยังกลุ่มลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพาร์ตเนอร์ เพื่อให้ใช้เครือข่ายได้ จุดสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเลือกติดตั้ง VPN คือการเลือก ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่วางระบบรักษาความปลอดภัย เป็นอย่างดี มีส่วนอย่างมาก ในการส่งข้อมูลบน VPN ให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะถ้า ไอเอสพี มีระบบรักษาความปลอดภัย ที่รัดกุม ก็จะช่วยให้ ข้อมูลที่ส่งมา มีความปลอดภัยมากขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับจาก VPN

ประโยชน์ของ การติดตั้งเครือข่ายแบบ VPN จะช่วยองค์กร ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ว่าผู้ใช้องค์กร จะอยู่ที่ใดในโลก ก็สามารถเข้าถึง เครือข่าย VPN ของตนได้ โดยการต่อเชื่อม เข้ากับ ผู้ให้บริการท้องถิ่นนั้นๆ ทำให้ช่วยลด ค่าใช้จ่าย ในการติดต่อสื่อสาร และสามารถ ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของ การดูแลรักษาระบบอีกด้วย นอกจากนี้ ระบบเครือข่าย VPN ยังสามารถ ให้ความคล่องตัว ในการเปลี่ยนแปลง เช่น การขยายเครือข่าย ในอนาคต 

นอกจากนี้แล้ว ในแง่ของ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต การออกบริการ VPN ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ช่วยให้ ลูกค้าของไอเอสพี ประหยัดค่าใช้จ่าย และสะดวกสบายมากขึ้น 

Virus ไวรัสคอมพิวเตอร์ไม่ใช้ ไวรัสเชื้อโรคนะจ๊ะ

อย่าสับสน! ระหว่างคำว่าคอมพิวเตอร์ไวรัสกับไวรัสที่เป็นเชื้อโรค   คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นเป็นแค่ชื่อเรียกสำหรับโปรแกรมประเภทหนึ่งที่มี พฤติกรรมคล้าย ๆ กับไวรัสที่เป็นเชื้อโรคที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมักทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ แต่ต่างกันตรงที่ว่าคอมพิวเตอร์ไวรัสเป็นแค่เพียงโปรแกรมเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต เราลองมาดูรายละเอียดกันหน่อยดีไหม เกี่ยวกับตัวไวรัสคอมพิวเตอร์นี้ ลองติดตามดู

ไวรัสคืออะไร
ไวรัส คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน
การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์ เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรม ๆ หนึ่งการที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัส แต่ละตัวปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว
จุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ แสดงข้อความวิ่งไปมาบน หน้าจอ เป็นต้น

"ประเภทของไวรัส"

-บูตเซกเตอร์ไวรัส 
Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่อง จะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบ ปฎิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง บูตเซกเตอร์ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัส ประเภทนี้ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไป จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น
ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย พยายามเรียก ดอสจากดิสก์นี้ ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใน หน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่ จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไป เรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

-โปรแกรมไวรัส
Program Viruses หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้า ไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programsได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะ เข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่สองวิธี คือ การแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรมผลก็คือหลังจากท ี่ โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิมดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่ จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม
การทำงานของไวรัส โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้ โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลัง จากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไป ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
วิธีการแพร่ระบาดของโปรแกรม ไวรัสอีกแบบหนึ่งคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียก นั้นทำงานตามปกติต่อไป

-ม้าโทรจัน
 ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ ถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้ง ชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ
จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำ อันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบ คอมพิวเตอร์
ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ ผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรม ที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้

-โพลีมอร์ฟิกไวรัส
Polymorphic Viruses เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้หถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

-สทีลต์ไวรัส
Stealth Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริง ของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัว ไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

"อาการของเครื่องที่ติดไวรัส"

สามารถสังเกตุการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้อาจเป็นไปได้ว่าได้มีไวรัสเข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้ว อาการที่ว่านั้นได้แก่

  • ใช้เวลานานผิดปกติในการเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงาน
  • ขนาดของโปรแกรมใหญ่ขึ้น
  • วันเวลาของโปรแกรมเปลี่ยนไป
  • ข้อความที่ปกติไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อย ๆ
  • เกิดอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ
  • เครื่องส่งเสียงออกทางลำโพงโดยไม่ได้เกิดจากโปรแกรมที่ใช้อยู่
  • แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย
  • ขนาดของหน่วยความจำที่เหลือลดน้อยกว่าปกติ โดยหาเหตุผลไม่ได้
  • ไฟล์แสดงสถานะการทำงานของดิสก์ติดค้างนานกว่าที่เคยเป็น
  • ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ ๆ ก็หายไป
  • เครื่องทำงานช้าลง
  • เครื่องบูตตัวเองโดยไม่ได้สั่ง
  • ระบบหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยมีการรายงานว่าจำนวนเซกเตอร์ที่เสียมีจำนวน เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยที่
  • ยังไม่ได้ใช้โปรแกรมใดเข้าไปตรวจหาเลย

"การตรวจหาไวรัส"

การสแกน
โปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกน (Scanning) เรียกว่า สแกนเนอร์ (Scanner) โดยจะมีการดึงเอาโปรแกรมบางส่วนของตัวไวรัสมาเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล ส่วนที่ดึงมานั้นเราเรียกว่า ไวรัสซิกเนเจอร์ (VirusSignature)และเมื่อสแกนเนอร์ถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะเข้าตรวจหาไวรัสในหน่วยความจำ บูตเซกเตอร์และไฟล์โดยใช้ ไวรัสซิกเนเจอร์ที่มีอยู่
ข้อดีของวิธีการนี้ก็คือ เราสามารถตรวจสอบซอฟแวร์ที่มาใหม่ได้ทันทีเลยว่าติดไวรัสหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทำงานตั้งแต่เริ่มแรก แต่วิธีนี้มีจุดอ่อนอยู่หลายข้อ คือ

  1. ฐานข้อมูลที่เก็บไวรัสซิกเนเจอร์จะต้องทันสมัยอยู่เสมอ แลครอบคลุมไวรัสทุกตัว มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  2. เพราะสแกนเนอร์จะไม่สามารถตรวจจับไวรัสที่ยังไม่มี ซิกเนเจอร์ของไวรัสนั้นเก็บอยู่ในฐานข้อมูลได้
  3. ยากที่จะตรวจจับไวรัสประเภทโพลีมอร์ฟิก เนื่องจากไวรัสประเภทนี้เปลี่ยนแปลง ตัวเองได้
  4. จึงทำให้ไวรัสซิกเนเจอร์ที่ใช้สามารถนำมาตรวจสอบได้ก่อนที่ไวรัส จะเปลี่ยนตัวเองเท่านั้น
  5. ถ้ามีไวรัสประเภทสทีลต์ไวรัสติดอยู่ในเครื่องตัวสแกนเนอร์อาจจะไม่สามารถ ตรวจหาไวรัสนี้ได้
  6. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและเทคนิคที่ใช้ของตัวไวรัสและ ของตัวสแกนเนอร์เองว่าใครเก่งกว่า
  7. เนื่องจากไวรัสมีตัวใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ ๆ ผู้ใช้จึงจำเป็นจะต้องหาสแกนเนอร์ ตัวที่ใหม่ที่สุดมาใช้
  8. มีไวรัสบางตัวจะเข้าไปติดในโปรแกรมทันทีที่โปรแกรมนั้นถูกอ่าน และถ้าสมมติ
  9. ว่าสแกนเนอร์ที่ใช้ไม่สามารถตรวจจับได้  และถ้าเครื่องมีไวรัสนี้ติดอยู่ เมื่อมีการ
  10. เรียกสแกนเนอร์ขึ้นมาทำงาน สแกนเนอร์จะเข้าไปอ่านโปรแกรมทีละโปรแกรม เพื่อตรวจสอบ
  11. ผลก็คือจะทำให้ไวรัสตัวนี้เข้าไปติดอยู่ในโปรแกรมทุกตัวที่ถูก สแกนเนอร์นั้นอ่านได้
  12. สแกนเนอร์รายงานผิดพลาดได้   คือ ไวรัสซิกเนเจอร์ที่ใช้บังเอิญไปตรงกับที่มี
  13. อยู่ในโปรแกรมธรรมดาที่ไม่ได้ติดไวรัส ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ไวรัสซิกเนเจอร์ ที่ใช้มีขนาดสั้นไป
  14. ก็จะทำให้โปรแกรมดังกล่าวใช้งานไม่ได้อีกต่อไป

การตรวจการเปลี่ยนแปลง

การตรวจการเปลี่ยนแปลง คือ การหาค่าพิเศษอย่างหนึ่งที่เรียกว่า เช็คซัม (Checksum) ซึ่งเกิดจากการนำเอาชุดคำสั่งและ ข้อมูลที่อยู่ในโปรแกรมมาคำนวณ หรืออาจใช้ข้อมูลอื่น ๆ ของไฟล์ ได้แก่ แอตริบิวต์ วันและเวลา เข้ามารวมในการคำนวณด้วย เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งหรือข้อมูลที่อยู่ในโปรแกรม จะถูกแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง เราจึงสามารถนำเอาตัวเลขเหล่านี้มาผ่านขั้นตอนการคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ ซึ่งวิธีการคำนวณเพื่อหาค่าเช็คซัมนี้มีหลายแบบ และมีระดับการตรวจสอบแตกต่างกันออกไป เมื่อตัวโปรแกรม ภายในเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าไวรัสนั้นจะใช้วิธีการแทรกหรือเขียนทับก็ตาม เลขที่ได้จากการคำนวณครั้งใหม่ จะเปลี่ยนไปจากที่คำนวณได้ก่อนหน้านี้
ข้อดีของการตรวจการเปลี่ยนแปลงก็คือ สามารถตรวจจับไวรัสใหม่ ๆ ได้ และยังมีความสามารถในการตรวจจับไวรัสประเภทโพลีมอร์ฟิกไวรัสได้อีกด้วย แต่ก็ยังยากสำหรับสทีลต์ไวรัส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดของโปรแกรมตรวจหาไวรัสเองด้วยว่าจะสามารถถูกหลอกโดยไวรัสประเภทนี้ได้หรือไม่ และมีวิธีการตรวจการเปลี่ยนแปลงนี้จะตรวจจับไวรัสได้ก็ต่อเมื่อไวรัสได้เข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้วเท่านั้น และค่อนข้างเสี่ยงในกรณีที่เริ่มมีการคำนวณหาค่าเช็คซัมเป็นครั้งแรก เครื่องที่ใช้ต้องแน่ใจว่าบริสุทธิ์พอ คือต้องไม่มีโปรแกรมใด ๆ ติดไวรัส มิฉะนั้นค่าที่หาได้จากการคำนวณที่รวมตัวไวรัสเข้าไปด้วย  ซึ่งจะลำบากภายหลังในการที่จะตรวจหาไวรัสตัวนี้ต่อไป

การเฝ้าดู

เพื่อที่จะให้โปรแกรมตรวจจับไวรัสสามารถเฝ้าดูการทำงานของเครื่องได้ตลอดเวลานั้น จึงได้มีโปรแกรมตรวจจับไวรัสที่ถูกสร้งขึ้นมาเป็นโปรแกรมแบบเรซิเดนท์หรือ ดีไวซ์ไดรเวอร์ โดยเทคนิคของการเฝ้าดูนั้นอาจใช้วิธีการสแกนหรือตรวจการเปลี่ยนแปลงหรือสองแบบรวมกันก็ได้
การทำงานโดยทั่วไปก็คือ เมื่อซอฟแวร์ตรวจจับไวรัสที่ใช้วิธีนี้ถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะเข้าไปตรวจในหน่วยความจำของเครื่องก่อนว่ามีไวรัสติดอยู่หรือไม่โดยใช้ไวรัสซิกเนเจอร์ ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล จากนั้นจึงค่อยนำตัวเองเข้าไปฝังอยู่ในหน่วยความจำ และต่อไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมใดขึ้นมาใช้งาน โปรแกรมเฝ้าดูนี้ก็จะเข้าไปตรวจโปรแกรมนั้นก่อน โดยใช้เทคนิคการสแกนหรือตรวจการเปลี่ยนแปลงเพื่อหาไวรัส ถ้าไม่มีปัญหา ก็จะอนุญาตให้โปรแกรมนั้นขึ้นมาทำงานได้ นอกจากนี้โปรแกรมตรวจจับ ไวรัสบางตัวยังสามารถตรวจสอบขณะที่มีการคัดลอกไฟล์ได้อีกด้วย
ข้อดีของวิธีนี้คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมใดขึ้นมา โปรแกรมนั้นจะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้งโดยอัตโนมัติ ซึ่งถ้าเป็นการใช้สแกนเนอร์  จะสามารถทราบได้ว่าโปรแกรมใดติดไวรัสอยู่ ก็ต่อเมื่อทำการเรียกสแกนเนอร์นั้นขึ้นมาทำงานก่อนเท่านั้น
ข้อเสียของโปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูก็คือ จะมีเวลาที่เสียไปสำหรับการตรวจหาไวรัสก่อนทุกครั้ง และเนื่องจากเป็นโปรแกรมแบบเรซิเดนท์หรือดีไวซ์ไดรเวอร์ จึงจำเป็นจะต้องใช้หน่วยความจำส่วนหนึ่งของเครื่องตลอดเวลาเพื่อทำงาน ทำให้หน่วยความจำในเครื่องเหลือน้อยลง และเช่นเดียวกับสแกนเนอร์ ก็คือ จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุง ฐานข้อมูลของไวรัสซิกเนเจอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

"คำแนะนำและการป้องกันไวรัส"


  • สำรองไฟล์ข้อมูลที่สำคัญ
  • สำหรับเครื่องที่มีฮาร์ดดิสก์ อย่าเรียกดอสจากฟลอปปีดิสก์
  • ป้องกันการเขียนให้กับฟลอปปีดิสก์
  • อย่าเรียกโปรแกรมที่ติดมากับดิสก์อื่น
  • เสาะหาโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใหม่และมากกว่าหนึ่งโปรแกรมจากคนละบริษัท
  • เรียกใช้โปรแกรมตรวจหาไวรัสเป็นช่วง ๆ
  • เรียกใช้โปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูทุกครั้ง
  • เลือกคัดลอกซอฟแวร์เฉพาะที่ถูกตรวจสอบแล้วในบีบีเอส
  • สำรองข้อมูลที่สำคัญของฮาร์ดดิสก์ไปเก็บในฟลอปปีดิสก์
  • เตรียมฟลอปปีดิสก์ที่ไว้สำหรับให้เรียกดอสขึ้นมาทำงานได้
  • เมื่อเครื่องติดไวรัส ให้พยายามหาที่มาของไวรัสนั้น

"การกำจัดไวรัส"
เมื่อแน่ใจว่าเครื่องติดไวรัสแล้ว ให้ทำการแก้ไขด้วยความใคร่ครวญและระมัดระวังอย่างมาก เพราะบางครั้งตัวคนแก้เองจะเป็นตัวทำลายมากกว่าตัวไวรัสจริง ๆ เสียอีก  การฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใหม่อีกครั้งก็ไม่ใช่ วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป ยิ่งแย่ไปกว่านั้นถ้าทำไปโดยยังไม่ได้มีการสำรองข้อมูลขึ้นมาก่อน การแก้ไขนั้นถ้าผู้ใช้มีความรู้เกี่ยวกับไวรัสที่ กำลังติดอยู่ว่าเป็นประเภทใดก็จะช่วยได้อย่างมาก และข้อเสนอแนะต่อไปนี้อาจจะมีประโยชน์ต่อท่าน

บูตเครื่องใหม่ทันทีที่ทราบว่าเครื่องติดไวรัส

เมื่อทราบว่าเครื่องติดไวรัส ให้ทำการบูตเครื่องใหม่ทันที  โดยเรียกดอสขึ้นมาทำงานจากฟลอปปีดิสก์ที่ได้เตรียมไว้ เพราะถ้าไปเรียกดอสจากฮาร์ดดิสก์ เป็นไปได้ว่า ตัวไวรัสอาจกลับเข้าไปในหน่วยความจำได้อีก เมื่อเสร็จขั้นตอนการเรียกดอสแล้ว ห้ามเรียกโปรแกรมใด ๆ ก็ตามในดิสก์ที่ติดไวรัส เพราะไม่ทราบว่าโปรแกรมใดบ้างที่มีไวรัสติดอยู่

เรียกโปรแกรมจัดการไวรัสขั้นมาตรวจหาและทำลาย

ให้เรียกโปรแกรมตรวจจับไวรัส เพื่อตรวจสอบดูว่ามีโปรแกรมใดบ้างติดไวรัส ถ้าโปรแกรมตรวจ หาไวรัสที่ใช้อยู่สามารถกำจัดไวรัสตัวที่พบได้ ก็ให้ลองทำดู แต่ก่อนหน้านี้ให้ทำการคัดลอกเพื่อสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเสียก่อน โดยโปรแกรมจัดการไวรัสบางโปรแกรมสามารถสั่งให้ทำสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเป็นอีกชื่อหนึ่งก่อนที่จะกำจัดไวรัส เช่น MSAV ของดอสเอง เป็นต้น
การทำสำรองก็เพราะว่า เมื่อไวรัสถูกกำจัดออกจากฌปรแกรมไป โปรแกรมนั้นอาจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือทำงานไม่ได้เลยก็เป็นไปได้ วิธีการตรวจขั้นต้นคือ ให้ลอง เปรียบเทียบขนาดของโปรแกรมหลังจากที่ถูกกำจัดไวรัสไปแล้วกับขนาดเดิม ถ้ามีขนาดน้อยกว่า แสดงว่าไม่สำเร็จ หากเป็นเช่นนั้นให้เอาโปรแกรมที่ติดไวรัสที่สำรองไว้ แล้วหาโปรแกรมจัดการ ไวรัสตัวอื่นมาใช้แทน แต่ถ้ามีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับของเดิม เป็นไปได้ว่าการกำจัดไวรัสอาจสำเร็จ โดยอาจลองเรียกโปรแกรมตรวจหาไวรัสเพื่อทดสอบโปรแกรมอีกครั้ง

หากผลการตรวจสอบออกมาว่าปลอดเชื้อ ก็ให้ลองเรียกโปรแกรมที่ถูกกำจัดไวรัสไปนั้นขึ้นมาทดสอบการทำงานดูอย่างละเอียดว่าเป็นปกติดีอยู่หรือไม่อีกครั้ง ในช่วงดังกล่าวควรเก็บโปรแกรมนี้ที่สำรองไปขณะที่ติดไวรัสอยู่ไว้ เผื่อว่าภายหลังพบว่าโปรแกรมทำงานไม่เป็นไปตามปกติ ก็สามารถลองเรียกโปรแกรมจัดการไวรัสตัวอื่นขึ้นมากำจัดต่อไปได้ในภายหลัง แต่ถ้าแน่ใจว่าโปรแกรมทำงานเป็นปกติดี ก็ทำการลบโปรแกรมสำรองที่ยังติดไวรัสติดอยู่ทิ้งไปทันที เป็นการป้องกันไม่ให้มีการเรียกขึ้นมาใช้งานภายหลังเพราะความบังเอิญได้

Trojan Horse ม้าโทรจัน

Trojan Horses คืออะไร
     ม้าโทรจัน คือ โปรแกรมที่ถูกโหลดเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อ ปฎิบัติการ "ล้วงความลับ"เช่น รหัสผ่าน, User Name และข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับการ Login ระบบ ที่ถูกพิมพ์ผ่านคีย์บอร์ดโดยผู้ใช้งาน  โดยส่วนใหญ่แฮคเกอร์จะส่งโปรแกรมม้าโทรจัน เข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ หรือเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ 
     ม้าโทรจัน แตกต่างจากไวรัสที่การทำงาน ไวรัสทำงานโดย ทำลายคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างแท้จริง  แต่ "ม้าโทรจัน" ไม่ทำอะไรกับคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันไม่มีคำสั่งหรือพฤติกรรมการทำลายคอมพิวเตอร์เหมือนไวรัส ม้าโทรจันเหมือนโปรแกรมทั่วไปในคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันจึงไม่ใช่ไวรัส ม้าโทรจันนั้นเป็นเครื่องมือของแฮคเกอร์ในการเจาะระบบ เพราะม้าโทรจันนั้นคือโปรแกรมที่เขียน ขึ้นเพื่อบันทึกว่าแป้นคีย์บอร์ดแป้นไหนถูกกดบ้าง ด้วยวิธีการนี้ก็จะได้ข้อมูลของ User ID, Password หลังจากนั้นโปรแกรมม้าโทรจันจะบันทึกข้อมูลลงไปใน RAM , CMOS หรือ Hidden Directory ในฮาร์ดดิสก์ แล้วก็หาโอกาสที่จะอัพโหลด ตัวเองไปยังแห่งที่ผู้เขียนม้าโทรจันกำหนด หรือบางทีแฮคเกอร์อาจจะใช้วิธีการเก็บไฟล์ดังกล่าวไปด้วยวิธีอื่น การใช้อินเตอร์เน็ต ใช้โมเด็ม หรือใช้ LAN 
ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นยุคของอินเตอร์เน็ต (Internet)  ขนาดของโปรแกรมม้าโทรจันนั้นใหญ่ขึ้น และทำอะไรได้เบี่ยงเบนความสนใจมากขึ้น เช่น แสดงรูปภาพสกรีนเซฟเวอร์น่ารักๆ แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของม้าโทรจันคือ "สืบเสาะหาความลับ"เหมือนเดิม ม้าโทรจันบางตัวเข้ามาเพื่อเปิดช่องว่างด้านระบบรักษาความปลอดภัย รอพวกไม่หวังดี เข้ามาปฎิบัติการอีกที และอย่างที่เราทราบกันแฮคเกอร์ บางคนวางแผนยึดเครื่องพีซีเพื่อดำเนินการโจมตีเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการทางอินเตอร์ให้หยุดให้บริการ

การป้องกัน-กำจัดม้าโทรจัน
1.ใช้ Firewall เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากแฮคเกอร์ 
2.ใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการตรวจจับและทำลายโทรจัน เช่น The Cleaner 3.1 ,Trojan Remover,Anti-Trojan 5 เป็นต้น

Spoof

ARP Spoof (หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ARP Poision) คือการโจมตีโดยใช้ช่องโหว่ของโปรโตคอล ARP เพื่อหลอกให้เหยื่อหลงกล เช่น ทำให้เหยื่อเข้าใจผิดว่าเครื่องของแฮกเกอร์คือ Gateway เพื่อที่จะบังคับให้ข้อมูลที่เหยื่อกำลังส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ (ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต) วิ่งผ่านเครื่องของแฮกเกอร์แล้วแฮกเกอร์ก็สามารถดักจับข้อมูลที่สำคัญของเหยื่อได้ เช่น ข้อมูลรหัสผ่านหรือ Cookie/Session ID

ARP คืออะไร
ARP (Address Resolution Protocol) เป็นโปรโตคอลสำหรับการจับคู่ (map) ระหว่าง Internet Protocol address (IP address) กับตำแหน่งของอุปกรณ์ในระบบเครือข่าย เช่น IP เวอร์ชัน 4 ใช้การระบุตำแหน่งขนาด 32 บิต ใน Ethernet ของระบบใช้การระบุ ตำแหน่ง 48 บิต (การระบุตำแหน่งของอุปกรณ์รู้จักในชื่อของ Media Access Control หรือ MAC address) ตาราง ARP ซึ่งมักจะเป็น cache จะรักษาการจับคู่ ระหว่าง MAC address กับ IP address โดย ARP ใช้กฎของโปรโตคอล สำหรับการสร้างการจับคู่และแปลงตำแหน่งทั้งสองฝ่าย

การทำงานของ ARP

เมื่อแพ็คเกตนำเข้าที่ระบุเครื่อง host ในระบบเครือข่ายมาถึง Gateway เครื่องที่ Gateway จะเรียกโปรแกรม ARP ให้หาเครื่อง host หรือ MAC address ที่ตรงกับ IP address โปรแกรม ARP จะหาใน ARP cache เมื่อพบแล้วจะแปลงแพ็คเกต เป็นแพ็คเกตที่มีความ ยาวและรูปแบบที่ถูกต้องเพื่อส่งไปยังเครื่องที่ระบุไว้ แต่ถ้าไม่พบ ARP จะกระจายแพ็คเกตในรูปแบบพิเศษ ไปยังเครื่องทุกเครื่องในระบบและถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งทราบว่ามี IP address ตรงกันก็จะตอบกลับมาที่ ARP โปรแกรม ARP จะปรับปรุง ARP cache และส่งแพ็คเกตไปยัง MAC address หรือเครื่องที่ตอบมา

เนื่องจากแต่ละโปรโตคอลมีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามประเภทของ LAN ดังนั้นจึงมี การแยก ARP Request for Comments ตามประเภทของโปรโตคอลสำหรับ Ethernet, asynchronous transfer mode, Fiber Distributed-Data Interface, HIPPI และโปรโตคอลอื่น

ส่วน Reverse ARP สำหรับเครื่อง host ที่ไม่รู้จัก IP address นั้น RARP สามารถให้เครื่องเหล่านี้ขอ IP address จาก ARP cache ของ Gateway
ก่อนอื่น เราต้องรู้เกี่ยวกับ ARP Spoofing คร่าวๆก่อนครับ ว่ามันคืออะไร ทำไมถึงใช้วิธีนี้ดัก Packet เราได้ ?

ปกติแล้ว การที่เครื่องเซิฟเวอร์เราสื่อสารกับใคร จะต้องมีการรับส่งข้อมูลผ่านเครื่อง Gateway

[SERVER] <----> [GATEWAY] <----> [เครื่อง PC ของคุณ]

ซึ่ง Gateway ของ ISP จะปลอดภัยอยู่แล้ว คงไม่มีเจ้าหน้าที่ใน ISP คนไหนมานั่งดักข้อมูลกันหรอกครับ
แต่ถ้าอย่างระดับธนาคารเขาจะใช้ SSL (https://) ในการช่วยเข้ารหัส Packet ถึงดักไปก็จะได้ข้อมูลที่อ่านไม่รู้เรื่อง
แล้วถ้าอย่างเราๆบ้านๆ ไปซื้อ https:// หมด คงไม่ได้แน่ เพราะต้นทุนสูง ต้องใช้ Dedicated IP ด้วยอีก
เราตัดปัญหาที่เจ้าหน้าที่ ISP จะมาดักข้อมูลเราได้เลย เราไม่ได้มีข้อมูลอะไรสำคัญขนาดธนาคาร
เรามามองที่เรื่องของ ผู้ใช้ ใกล้ๆเรานี่สิครับ ที่จะมาดักข้อมูลเรา

แล้วคนใกล้ๆเรา จะดักข้อมูลเราได้อย่างไร ?

เราใช้วิธี ARP Spoofing ครับ โดยจะส่ง Packet บางอย่างมาหลอกเครื่องของเราว่า เครื่องเขาคือ Gateway
เช่น ปกติแล้ว IP ของ Gateway คือ 203.146.1.126
เขาก็จะส่ง Packet บางอย่างมาบอกว่า เครื่องของเขาคือ IP 203.146.1.126 นะต่อไปให้ติดต่อเครื่องของเขา การติดต่อสื่อสารก็จะเปลี่ยนเป็นลักษณะนี้

[SERVER] <----> [เครื่องของผู้ไม่หวังดี]<----> [GATEWAY] <----> [เครื่อง PC ของคุณ]

ทำให้เขาสามารถรับรู้ Packet ต่างๆที่วิ่งไหลผ่านเครื่องของคุณได้เลย ไม่ว่าจะเป็น
Username / Password ต่างๆ รวมไปถึงรหัสบัตรcredit card

การป้องกันเบื้องต้น จะใช้วิธี Fix ค่า ARP ในเครื่องของเรา ให้เป็น MAC Address ที่ถูกต้องของ Gateway จริงๆ ตลอดเวลาครับ

ทีมงานขอขอบคุณเครดิตจาก : คุณTMPAY,com5dow.com

นอกจากนัั้นแล้วขอแนะนำให้เพื่อนๆติดตั้งโปรแกรม Panda Cloud ทีมี่ระบบ firewall ประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการโจมตีแบบ arp spoof ที่เป็นแบบ smart arp ซึ่งมีเฉพาะยี่ห้อ panda เท่านั้นที่มีระบบนี้

เพื่อนๆสามารถทดลองใช้ Panda Cloud เพื่อกำจัดไวรัสในเครื่องและป้องกันhackerโจมตีรูปแบบต่างๆได้โดย Download เวอร์ชันทดลองใช้ 1 เดือนได้ที่ http://www.panda-thailand.com/newpanda/trial/

Spam คืออะไร ?

สแปม (Spam) คืออะไร

สแปม (Spam) คือ การส่งอีเมลที่มีข้อความโฆษณาไปให้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ การสแปมส่วนใหญ่ทำเพื่อการโฆษณาเชิงพาณิชย์ มักจะเป็นสินค้าที่น่าสงสัย หรือการเสนองานที่ทำให้รายได้อย่างรวดเร็ว หรือบริการที่ก้ำกึ่งผิดกฏหมาย ผู้ส่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการส่งไม่มากนัก แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้รับอีเมลนั้น

เมื่อคุณได้รับ อีเมลที่มีหัวข้อเช่น "Make Money from Home" หรือ ?XXX Hot SEXXXY Girls" ถ้าอีเมลเหล่านี้ส่งมาจากคนที่คุณไม่รู้จัก แน่นอนว่าคุณไม่ต้องการรับอีเมลเหล่านี้แน่ ๆ เพราะมันจะทำให้คุณเสียเวลา ค่าใช้จ่าย แบนด์วิดธ์ และพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ในการดาวน์โหลดอีเมลเหล่านี้มาอ่าน ถึงแม้จะไม่มีวิธีที่จะกำจัดอีเมลเหล่านี้ได้ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่คุณก็สามารถทำบางอย่างเพื่อปัองกันจดหมายขยะที่น่ารำคาญเหล่านี้ได้

ไซต์ ในอินเทอร์เน็ตหลาย ๆ ไซต์ที่ได้เงินจากการขายรายชื่อที่อยู่อีเมลให้กับผู้ส่งจดหมายขยะ (spammer) มีเว็ปไซต์หนึ่งที่ขายที่อยู่อีเมล 1 ล้านรายชื่อเพื่อเงินเพียง 59.95 ดอลลาร์ ส่วนอีกเว็ปไซต์หนึ่งขายซีดีที่มีรายชื่ออีเมล 15 ล้านชื่อเพื่อเงิน 120 ดอลลาร์

ทำไมจดหมายขยะถึงเพิ่มขึ้นทุกวัน ?

ผู้ ส่งจดหมายขยะจำเป็นต้องส่งไปจำนวนมาก ๆ เพราะเครื่องมือในการป้องกันจดหมายขยะฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ และผู้ส่งเองก็มีวิธีใหม่ ๆ ในการค้นหาที่อยู่อีเมลและวิธีการหลบหลีกการป้องกันจากจดหมายขยะด้วย นอกจากนี้ การทำการตลาดทางอีเมลยังมีค่าใช้จ่ายถูก ในสหรัฐ ฯ ผู้ส่งอีเมลขยะจ่ายน้อยกว่าหนึ่งเพนนีต่อ อีเมลหนึ่งฉบับ ถ้าเปรียบเทียบกับการทำการตลาด ผู้ส่งจ่าย 1 ดอลลาร์สำหรับขายสินค้าทางโทรศัพท์ และ 75 เซ็นต์สำหรับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์

spammer รู้ที่อยู่อีเมลของพวกเราได้อย่างไร

1. spammer ใช้โปรแกรมที่เก็บรวมรวมที่อยู่อีเมลโดยอัตโนมัติที่เรียกว่า Bot หรือ robot ที่สามารถ สแกนอินเทอร์เน็ตเพื่อหาที่อยู่อีเมล วิธีการหนึ่งที่ใช้เพื่อป้องกันวิธีนี้คือการใช้ที่อยู่อีเมลแจกฟรีแบบ web based email (อย่าง Hotmail.com หรือ yahoo.com เป็นต้น) แล้วจึงเก็บ POP mail ไว้สำหรับคนรู้จักและครอบครัวเท่านั้น วิธีนี้ไม่สามารถป้องกันสแปมได้ทั้งหมด แต่ก็สามารถป้องกัน bot ไม่ให้รู้ที่อยู่อีเมลหลักของคุณได้

ถ้าคุณมีเว็ปไซต์ของคุณเอง อย่าทำ hyperlink ให้กับ email address เพราะ spammer สามารถ ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า spiders เพื่อรวบรวมเว็ปที่มี email address อยู่ โดย spiders สามารถไปตามลิงค์ต่าง ๆ และรวบรวมลิงค์ mailto คุณควรทำที่อยู่อีเมลของคุณให้เป็น text แทน เพื่อไม่ให้ spiders สามารถทำงานได้ ถ้าผู้ที่ต้องการส่งอีเมลถึงคุณ เขาจะไม่รังเกียจที่จะพิมพ์ที่อยู่อีเมลลงไปในโปรแกรมส่งอีเมลด้วยตัวเขาเอง

นอกจากนี้การส่งข้อความเข้าไปใน newsgroup โดยบอกที่อยู่อีเมลของคุณไปด้วย ทำให้ bots สามารถค้นหาที่อยู่อีเมลใน newsgroupได้ จดหมาย Spam ที่คุณได้รับบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณส่งข้อความของคุณไปที่ newsgroup ใด เช่น ถ้าคุณส่งข้อความเข้าไปที่ Alt.DVD คุณอาจได้รับอีเมลที่ให้ข้อเสนอที่เกี่ยวกับ DVD

ด้วยเหตุนี้ผู้คน ส่วนใหญ่จึงไม่ได้ใช้ที่อยู่อีเมลจริง ๆ หรือคุณอาจใช้วิธีเพิ่มตัวอักษรเข้าไปในท้ายที่อยู่เพื่อหลอก bot เช่น ถ้าคุณมีที่อยู่อีเมลคือ user@XYZ.net คุณสามารถบอกที่อยู่อีเมลเป็น user@XYZ.REMOVE.net แล้วจึงบอกในข้อความนั้นให้ผู้อ่านรู้ว่าให้นำคำว่า "REMOVE" ออกไปเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง (วิธีอื่น ๆ ที่คุณสามารถใช้เพื่อหลีกเลี่ยง bot เมื่อคุณจำเป็นต้องใส่ที่อยู่อีเมลในอินเทอร์เน็ต เช่น การเพิ่มช่องว่างเข้าไป เช่น ?user @ hotmail.com? หรือการเปลี่ยน @ เป็น at เช่น ?user at hotmail.com? เป็นต้น)

ก่อนที่คุณจะโพสต์ที่อยู่ อีเมลของคุณใน newsgroup หรือเว็ปไซต์ใด ๆ หรือการสำรวจข้อมูลใด ๆ ก็ตาม คุณควรสมัคร free email account อีกแห่งหนึ่ง ที่ไม่ใช่อีเมลหลักของคุณ ใช้อีเมลหลักของคุณสำหรับ คนที่คุณสามารถเชื่อถือได้เท่านั้น

ที่เว็ปไซต์ http://www.u.arizona.edu/~trw/spam/ มีสคริปท์แจกฟรีที่คุณสามารถใช้เพื่อเข้ารหัสที่อยู่อีเมลของคุณเพื่อไม่ให้ bot สามารถหาที่อยู่อีเมลของคุณได้


2. ถ้าคุณได้รับจดหมายลูกโซ่ อย่างเช่น "ส่งอีเมลนี้ต่อไปให้คนสิบคนแล้วไมโครซอฟท์จะส่งเช็คมูลค่า 1000 ดอลลาร์มาให้คุณ" ถ้าคุณเคยได้รับอีเมลที่มีรายชื่อผู้รับจำนวนมาก อย่าส่งต่ออีเมลเหล่านี้เนื่องจาก ที่อยู่อีเมลของคุณจะติดไปพร้อมกับอีเมลเหล่านี้

เมื่อคุณได้รับอี เมลลูกโซ่มาจากแหล่งที่ไม่รู้จัก บอกว่า "โปรดตอบจดหมายนี้ โดยมีหัวข้อตอบกลับว่า Remove เพื่อยกเลิกรับการเป็นสมาชิกแจ้งข่าวสารทางอีเมล" คุณไม่ควรตอบอีเมลนี้ เพราะการส่งอีเมลนี้ใช้เพื่อพิสูจน์ว่าที่อยู่อีเมลนี้มีจริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ส่งอีเมลขยะเอง

3.เมื่อคุณป้อนที่อยู่อี เมลในฟอร์มของเว็ปไซต์เพื่อสมัครบริการของเว็ปนั้น ถึงแม้ว่าเว็ปไซต์นั้นสัญญาว่าจะเก็บที่อยู่อีเมลไว้เป็นความลับ แต่ดูเหมือนคำสัญญาไม่ได้ป้องกันให้บริษัทเหล่านั้นเปิดเผยข้อมูลให้บุคคล ที่สามได้เลย มีคนหนึ่งที่เคยสมัครกับเว็ปไซต์ประเภท joke of the day โดยบอกที่อยู่อีเมลแบบ web based ไป เป็นครั้งเดียวที่เขาได้สมัครเพื่อขอใช้บริการเว็ปในอินเทอร์เน็ต ภายในหนึ่งสัปดาห์ต่อมาเขาได้รับจดหมายขยะ มีตั้งแต่เรื่อง "Make A Million $$$" ไปจนถึง How To Keep Women Happy

4.การใช้คำทั่ว ๆ ไป (เช่นเป็นคำใน dictionary) เป็นชื่อแอกเคาท์ช่วยให้ผู้ส่งจดหมายขยะสามารถเดาชื่อเหล่านี้และส่งไปได้ วิธีการแก้ไขคือการใช้ชื่อแอคเคาท์ที่สะกดผิด จะช่วยให้ผู้ส่งจดหมายขยะยากที่จะคาดเดาชื่อแอคเคาท์และส่งอีเมลมาแบบไม่ เลือกได้

5.ไซต์ที่มีบริการที่ให้คุณสามารถส่ง greeting cards ไปยังคนอื่น ๆ บางแห่งจะเก็บรวบรวมที่อยู่อีเมลไว้ แล้วเก็บไว้หรือขายให้กับผู้ส่งจดหมายขยะ

6.การขโมยข้อมูล โดยการสร้างเว็ปไซต์ที่จริง ๆ แล้วไม่ได้ใช้ http protocol แต่ใช้ anonymous ftp แทน มีเว็ปบราวเซอร์หลาย ๆ ตัวจะส่งที่อยู่อีเมลแทนรหัสผ่าน เพื่อเข้าไปใน anonymous ftp

Social Engineering

การโจมตีแบบวิศวกรรมสังคม (Social Engineering ) คือ ปฏิบัติการจิตวิทยาซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการโจมตี เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากนัก และส่วนใหญ่จะใช้ได้ผลดี การโจมตีแบบวิศวกรรมสังคมจะเกี่ยวกับการหลอกให้บางคนหลงกลเพื่อเข้าระบบ เช่น การหลอกถามรหัสผ่าน การหลอกให้ส่งที่สำคัญให้ ซึ่งการโจมตีประเภทนี้ไม่จำต้องใช้ความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือการเจาะระบบเลย วิศวกรรมสังคมเป็นจุดอ่อนที่ป้องกันยากเพราะเกี่ยวข้องกับคน

รูปแบบการโ๗มตีแบบวิศวกรรมสังคม

1.การหลอกลวงทางโทรศัพท์
รูปแบบการโจมตีแบบวิศวกรรมสังคมโดยส่วนใหญ่จะใช้โทรศัพท์ถามข้อมูลโดยหลอกว่าตนเป็นผู้ได้รับอนุญาตหรือเป็นผู้มีอำนาจ การบอกให้ผู้ถูกโจมตีโอนเงินไปให้ผู้โจมตี มีการหลอกล่อหลายรูปแบบโดนการอาศัยวิธีทางจิตวิทยา เช่น หลอกลวงว่าผู้ถูกโจมตีเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล โดยอาจใช้เทคนิคการซ่อนหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อปิดบังหมายเลขโทรศัพท์ส่งผลให้เหไม่สามารถยืนยันผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาได้จนทำให้หลงเชื่อและ แจ้งข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถูกโจมตีให้แก่ผู้โจมตีได้รวมทั้งการหลอกให้ไปยืนยันการได้รับรางวัลที่เครื่อง ATM และให้ดำเนินการตามที่ผู้โจมตีบอกขั้นตอน ซึ่งเป็นการหลอกให้โอนเงินไปให้ตัวอย่างเช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่หลอกลวงประชาชน ซึ่งจะดำเนินการอยู่ใน 2 ลักษณะ คือ จะโทรศัพท์เข้ามาแจ้งว่า ได้รับคืนเงินภาษี หรือ ได้รับรางวัล และการหลอกลวงโดยขู่ว่า เป็นหนี้บัตรเครดิต และฐานข้อมูลกำลังถูกเจาะเข้าระบบ และจะพูดจาหว่านล้อมให้ไปทำธุรกรรมทางตู้เอทีเอ็ม

2.การค้นข้อมูลจากถังขยะ (Dumpster Diving)
การค้นข้อมูลจากถังขยะ(Dumpster Diving) เพื่อค้นหาข้อมูลจากเอกสารที่ทิ้ง ซึ่งในนั้นอาจมีคู่มือการใช้งาน รหัสผ่านที่เขียนไว้ในกระดาษ เป็นต้น ถังขยะนั้นอาจะไม่ใช่ถังขยะในสายตาของนักเจาะระบบ ถังขยะปกติแล้วจะประกอบไปด้วยเอกสารชิ้นเล็กชิ้นน้อยและข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ผู้บุกรุกอาจนำข้อมูลแต่ละชิ้นจากถังขยะเหล่านั้นมาปะติดปะต่อเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ และทำให้สามารถเข้าถึงระบบได้จากวิธีการนี้ หรือบางครั้งข้อมูลที่ได้อาจทำให้การปลอมแปลงตัวของผู้บุกรุกนั้นแนบเนียนน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

3.ฟิชชิ่ง (Phishing)
ฟิชชิง (phishing) คือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตเพื่อขอข้อมูลที่สำคัญเช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือเมสเซนเจอร์ ตัวอย่างของการฟิชชิง เช่น ผู้โจมตีอาจส่งอีเมลและบอกว่ามาจากองค์กรที่ถูกกฎหมายแล้วหลอกให้คลิกเข้าไปยังเวปไวต์ แทนที่จะเป็นเวปจริงๆแต่กลับเป็นเวปไซต์หลอกที่มีหน้าตาเหมือนเว็บไซต์จริง ผู้ใช้จะถูกถามให้กรอกยูสเซอร์เนม และพาสเวิร์ดเพื่อยืนยันเจ้าของบันชีธนาคาร หรือข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิต ซึ่งผู้โจมตีก็จะได้ข้อมูลนั้นไป

Security incident

Security incident คือ เหตุการณ์ ซึ่งมีผลกระทบต่อ Confidentiality , Integrity หรือ Availability ของระบบ ที่เกิดจาก การกระทำของ unauthorized access , disclosure , modification , misuse , damage , loss หรือ destruction

*สรุปก็คือ Security incident นั้นคือเหตุการณ์ใดๆก็ได้ที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถทำให้ Confidentiality , Integrity หรือ Availability นั้นเกิดการผิดปกตินั้นเอง

Privacy

Privacy คืออะไร

บนอินเตอร์เน็ต privacy (ความเป็นส่วนตัว) ที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่กังวลสามารถแบ่งออกเป็นความกังวลเหล่านี้
      - สารสนเทศส่วนบุคคลอะไรที่สามารถใช้ร่วมกันกับใคร?
      - ข่าวสารสามารถแลกเปลี่ยนโดยปราศจากคนอื่นเห็นได้?
      - ใครคนหนึ่งสามารถส่งข่าวสารอย่างนิรนามอย่างไร?
 ความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศส่วนบุคคล
ผู้ใช้เว็บส่วนใหญ่ต้องการเข้าใจสารสนเทศส่วนบุคคลที่พวกเขาแบ่งปันจะไม่มีการแบ่งปันให้กับคนทั่วไปโดยปราศจากการอนุญาตของพวกเขา การสำรวจประจำปีโดย Graphics, Visualization and Usability Center ของ Georgia Institute of Technology แสดงว่า 70% ของผู้ใช้เว็บที่สำรวจกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวเป็นเหตุผลหลักสำหรับการไม่ลงทะเบียนสารสนเทศกับเว็บไซต์ 86% ชี้ว่าพวกเขาต้องการความสามารถควบคุมสารสนเทศส่วนบุคคล การศึกษาโดย TRUSTe เปิดเผยว่า 78% ของผู้ใช้ที่สำรวจจะให้สารสนเทศส่วนบุคคลกับไซต์ที่เสนอการประกัน ความเป็นส่วนตัว
Platform for Personal Privacy Project (P3P) ของ World Wide Web Consortium เสนอคำแนะนำในทางปฏิบัติที่จะให้ผู้ใช้กำหนดและแบ่งปันสารสนเทศส่วนบุคคลกับเว็บไซต์ที่พวกเขาตกลงแบ่งปัน P3P ประสานข้อเสนออุตสาหกรรมจำนวนหนึ่ง รวมถึง Open Profiling Standard (OPS) ด้วยการใช้ซอฟแวร์ที่ติดกับ P3P recommendation ผู้ใช้จะสามารถสร้างประวัติโดยย่อส่วนบุคคล ทั้งหมดหรือบางส่วนสามารถเข้าถึงเว็บไซต์จากผู้ใช้โดยตรง เครื่องมือที่จะช่วยผู้ใช้ตัดสินใจให้เชื่อถือเว็บไซต์ที่ต้องให้สารสนเทศส่วนบุคคลคือ Statement of Privacy Policy ที่เว็บไซต์นั้นโพสต์ไว้
ความเป็นส่วนตัวของข่าวสาร
ในเครือข่ายเปิด เช่น อินเตอร์เน็ต ความเป็นส่วนตัวของข่าวสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับทรานแซคชัน e-commerce ต้องการ encrypt วิธีส่วนใหญ่บนเว็บไซต์คือผ่าน public key infrastructure (PKI) สำหรับอีเมล์ ประชาชนจำนวนมากใช้ Pretty Good Privacy (PGP) ซึ่งให้แต่คน encrypt ข่าวสารหรือส่งลายเซ็นต์ดิจิตอลที่สามารถตรวจสอบว่าข่าวสารนี้ถูกยุ่งเกี่ยวระหว่างทาง
การไม่เปิดเผยตัว
ถึงแม้ว่ารูปแบบนี้ของความเป็นส่วนบุคคลไม่จำเป็นหรือต้องการบ่อย แต่มีบางโอกาส เมื่อผู้ใช้อาจจะต้องการไม่เปิดเผยตัว (เช่น รายงานอาชญากรรม) บางครั้งความจำเป็นนี้พบได้ผ่านการใช้ไซต์ ที่เรียกว่า remailer ที่รายงานข่าวสารจากที่อยู่ของตัวเอง ดังนั้น จึงแปลงโฉมต้นแหล่งของข่าวสารนั้น (โชคร้าย ผู้กระจาย spam จำนวนมากใช้ประโยชน์จาก remailer ด้วย)

Physical Security

PHYSICAL SECURITY (การรักษาความปลอดภัยทางกายภาพ)
การรักษาความปลอดภัยทางกายภาพ หมายถึง มาตรการที่ใช้ในการปกป้องทรัพยากรจากภัยคุกคามทางกายภาพทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย โดยการจำกัดให้เฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องใช้งาน เช่น ผู้ดูแลระบบเท่านั้นที่สามารถเข้าถึง console ของระบบ ปกติแล้วระบบที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องใช้งาน console แต่สามารถใช้โปรแกรมประเภท ssh ทำการติดต่อเข้าไปใช้งานยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้
เหตุผลที่ไม่ควรให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึง console เนื่องจากผู้ที่เข้าถึง console ของเครื่องสามารถทำการเปิด-ปิดเครื่อง หรือรีบูตระบบจากซีดีรอมแล้วทำการ mount disk ทำให้สามารถเปลี่ยนรหัสผ่านของ root ได้ นอกจากนั้น การเข้าถึง console ยังทำให้สามารถทำอะไรได้ตามต้องการอีกด้วย เช่น การเข้าสู่ระบบได้โดยไม่จำเป็นต้องทราบรหัสผ่านทั้งๆ ที่ไม่มีซีดีรอมที่สามารถบูตได้ด้วย
 
I. แนวทางการป้องกันความปลอดภัยทางกายภาพของระบบ
  1. แบ่งแยกพื้นที่ควบคุมความปลอดภัยอย่างชัดเจน เช่น การแยกห้องที่เก็บเครื่องเซิร์ฟเวอร์และอนุญาตให้เฉพาะผู้ดูแลระบบเท่านั้นที่เข้าถึงได้
  2. ใช้ระบบป้องกันและตรวจสอบการเข้าออกพื้นที่ควบคุมความปลอดภัย เช่น การใช้ key card ที่สามารถบันทึกได้ว่าใครเข้าออกได้ หรือการใช้กล้องวิดีโอ เป็นต้น
  3. เก็บรักษาระบบและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น backup tape, เซิร์ฟเวอร์ ในพื้นที่ควบคุมความปลอดภัย และอนุญาตให้เข้าถึงได้เฉพาะผู้ดูแลระบบเท่านั้น
  4. ใช้เครื่องจ่ายกำลังไฟฟ้าสำรองหรือ UPS เพื่อให้ระบบสามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง
  5. วางแผนสำหรับการกู้ระบบคืนเมื่อมีเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้น
  6. ตรวจสอบข้อมูลของเจ้าหน้าที่จากภายนอกที่เข้ามาให้คำปรึกษาหรือปฏิบัติงานภายในพื้นที่ควบคุมความปลอดภัย ถ้าหากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นต้องการใช้สิทธิของ root ในการทำงานกับระบบ ผู้ดูแลระบบจะต้องทำการ login ให้ด้วยตนเอง หลังจากนั้นต้องคอยติดตามดูว่าผู้นั้นทำอะไรกับระบบบ้าง และเมื่อเสร็จภารกิจแล้วให้ทำการเปลี่ยนรหัสผ่านของ root ทันที
II. แนวทางการป้องกันความปลอดภัยทางกายภาพภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
  1. การล็อคเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Lock) เช่น การใช้กุญแจล็อคที่ตัวเครื่อง เพื่อช่วยในการป้องกันเครื่องและอุปกรณ์ภายในเครื่องจากการถูกลักขโมย หรือทำการเปิดเครื่องเพื่อสร้างความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์ภายในได้ และเป็นการป้องกันการรีบูตเครื่องด้วยแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดแวร์อื่นๆด้วย
  2. การรักษาความปลอดภัยใน BIOS (BIOS Security) เนื่องจาก BIOS มีความสำคัญต่อโปรแกรมที่ใช้บูตเข้าระบบ เช่น LILO ดังนั้นจึงควรปรับแต่งค่าใน BIOS เพื่อป้องกันผู้โจมตีทำการรีบูตเครื่อง มีวิธีการโดยสรุปดังนี้
    - ปรับแต่งให้ป้อนรหัสผ่านตอนที่บูตเครื่อง ซึ่งอาจจะไม่สามารถป้องกันได้ 100% เนื่องจากผู้โจมตีสามารถทำการรีเซ็ตที่ BIOS ได้ แต่ก็เป็นการชะลอเวลาของผู้โจมตี
    - ปรับแต่งให้เครื่องไม่สามารถใช้แผ่นดิสก์ในการบูตเครื่อง
    - ปรับแต่งให้ป้อนรหัสผ่านทุกครั้งก่อนที่จะทำการปรับแต่ง BIOS
    หมายเหตุ การตั้งรหัสผ่านตอนบูตมีข้อเสียคือ ถ้าเกิดเหตุขัดข้องบางประการ เช่น ไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน ส่งผลให้ต้องมีการบูตใหม่ ผู้ดูแลระบบเองจะต้องอยู่ใกล้เครื่องเพื่อที่จะป้อนรหัสผ่าน มิฉะนั้นระบบจะไม่สามารถทำงานต่อไปได้
  3. การรักษาความปลอดภัยที่ Boot Loader (Boot Loader Security) โปรแกรม Boot Loader ของ Linux สามารถปรับแต่งให้ป้อนรหัสผ่านตอนบูตได้ ยกตัวอย่างเช่น LILO สามารถแก้ไฟล์ /etc/lilo.conf โดยเพิ่มส่วนของ password และ restricted ซึ่ง password นั้นเป็นการป้องกัน image (เป็นไฟล์ของ kernel ที่ใช้ในการบูต) ส่วน restricted เป็นการป้องกัน image โดยให้ป้อนรหัสผ่าน เมื่อมีการเพิ่มค่าพารามิเตอร์ที่ LILO prompt (เช่น single) นอกจากนี้ยังมี prompt ที่จะใช้ระบุว่าทุกครั้งที่เปิดเครื่องต้องมีการเข้าสู่ boot prompt ก่อน และ timeout นั้นใช้บอกเวลาในหน่วยวินาทีที่ใช้รอรับอินพุตจากคีย์บอร์ดว่าจะเลือกบูตไฟล์ image ใด และการปรับแต่งให้ป้อนรหัสผ่านยังคงไม่สามารถป้องกันการบูตจากแผ่นดิสก์ และการ mount root partition ดังนั้นควรที่จะใช้ BIOS Security ควบคู่ไปกับ Boot Loader Security เช่น การปรับแต่งให้ไม่สามารถบูตจากแผ่นดิสก์ และให้ป้อนรหัสผ่านก่อนเข้าใช้งาน BIOS
  4. การล็อคหน้าจอมอนิเตอร์ (Screen Lock) ในขณะที่ผู้ดูแลระบบใช้งานเครื่องค้างอยู่ และต้องหยุดการใช้งานดังกล่าวก่อนชั่วคราว แต่ยังไม่ต้องการที่จะ Logout ออกจากระบบ ก็ใช้คำสั่งในการล็อคหน้าจอเพื่อป้องกันผู้อื่นที่ไม่รู้รหัสผ่านของผู้ดูแลระบบเข้ามาใช้งานเทอร์มินัลที่ทำงานค้างไว้ได้ ตัวอย่างโปรแกรมดังกล่าวเช่น xlock สำหรับ X-windows และ vlock สำหรับ Text-mode
  5. การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของความปลอดภัยทางกายภาพ (Detecting Physical Security Compromises) วิธีที่ง่ายที่สุดในการตรวจสอบว่าเครื่องถูกผู้บุกรุกแก้ไขการทำงานใดๆ ภายในเครื่องหรือไม่ สามารถทำได้โดยการตรวจสอบจากล็อกไฟล์ที่สร้างขึ้นจากโปรแกรม syslog daemon ที่ถูกติดตั้งใน linux ซึ่งจะทำการเก็บล็อกไฟล์ไว้ ภายในล็อกไฟล์ดังกล่าวจะเก็บข้อมูลสถานะการทำงานของเครื่องตั้งแต่เริ่มบูตเครื่อง อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้บุกรุกทราบว่าล็อกไฟล์เก็บไว้ที่ใด ก็สามารถที่จะเข้าไปแก้ไขหรือสร้างล็อกไฟล์ได้ ดังนั้นมีอีกทางเลือกหนึ่งคือการตั้งเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เก็บล็อกไฟล์ (Log Server) โดย syslog daemon สามารถปรับแต่งให้ส่งข้อมูลล็อกไฟล์ไปเก็บไว้ยังเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เก็บล็อกไฟล์ได้ แต่ข้อมูลนั้นยังไม่ได้เข้ารหัส ผู้บุกรุกสามารถดูข้อมูลดังกล่าวขณะที่ทำการส่งได้ เพราะฉะนั้นเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เก็บล็อกไฟล์ควรตั้งอยู่ภายในองค์กร ข้อมูลของล็อกไฟล์โดยทั่วไปที่ควรตรวจสอบ
  6. ล็อกไฟล์ที่ไม่สมบูรณ์หรือที่มีข้อมูลขาดหายไป
  7. ล็อกไฟล์ที่มี timestamp ผิดปกติ
  8. ล็อกไฟล์ทีมี permission หรือ เจ้าของล็อกไฟล์ผิดจากที่ควรเป็น เช่นล็อกไฟล์ของระบบแต่เจ้าของนั้นเป็น user
  9. ข้อมูลของการรีบูตเครื่องหรือรีสตาร์ท service
  10. การใช้คำสั่ง su หรือการ login เข้ามาจากต้นทางที่ผิดปกติ
III. สรุป
การป้องกันความปลอดภัยทางกายภาพนั้นจะให้ได้ผลมากที่สุด ต้องทำตามคำแนะนำดังกล่าวให้ครบ ถึงแม้ว่าคำแนะนำดังกล่าวอาจจะไม่สามารถป้องกันผู้บุกรุกได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อยก็สามารถชะลอให้ผู้บุกรุกเข้าถึงระบบได้ช้าลงได้

Passphrase

Passphrase คือรหัสที่ใช้ในการสร้างคีย์ที่เป็นตัวเลขฐาน 16 (HEX) ตั้ง รหัสผ่าน 5 ตัวอักษร สำหรับการเข้ารหัส 64 Bit หรือ 13 ตัวอักษร สำหรับ 128 Bit เมื่อคลิก Submit จะเป็นการสร้างคีย์ (Key) จำนวน 4 ชุด ในช่อง Key0-4 Key จะใช้ในการเริ่มต้นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายกับ Access Point นั้นเอง

integrity ความสมบูรณ์

Integrity เป็นการประกันว่าสารสนเทศสามารถได้รับการถึงหรือปรับปรุงโดยผู้ได้รับอำนาจเท่านั้น มาตรการใข้สร้างความมั่นใจ integrity ได้แก่ การควบคุมสภาพแวดล้อมทางกายภาคของจุดปลายทางเครือข่ายและแม่ข่าย จำกัดการเข้าถึงข้อมูล และรักษาวิธีปฏิบัติการรับรองอย่างเข้มงวด data integrity สามารถได้รับการคุกคามโดยอันตรายจากสภาพแวดล้อม เช่น ความร้อน ฝุ่น และการกระชากทางไฟฟ้า
วิธีปฏิบัติตามการป้องกัน data integrity ในสภาพแวดล้อมทางกายภาค คือ ทำให้แม่ข่ายเข้าถึงได้เฉพาะผู้บริหารเครือข่าย รักษาตัวกลางส่งผ่าน (เช่น เคเบิลและ connector) ครอบคลุมและป้องกันเพื่อมั่นใจว่าไม่สามารถลักลอบการเข้าถึง ป้องกันฮาร์ดแวร์และตัวกลางจัดเก็บจากการกระชากของไฟฟ้า การปล่อยไฟฟ้าสถิตย์ และแม่เหล็ก
มาตรการผู้บริหารระบบเพื่อทำความมั่นใจ data integrity คือ รักษาระบบผู้มีอำนาจปัจจุบันกับผู้ใช้ทั้งหมด กระบวนการบริหารระบบเอกสาร พารามิเตอร์ และรักษากิจกรรม สร้างแผนฟื้นฟูความเสียหายสำหรับการเกิดขึ้นของ ไฟฟ้าดับ แม่ข่ายล้มเหลว และไวรัสโจมตี

Hoax คืออะไร ?

Hoax ( ไวรัสหลอกลวง)

               ไวรัสจอมปลอม หรือ ภาษาทางการเรียกว่า Hoax ( ข่าวไวรัสหลอกลวง) เป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อกวนที่มีผลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมาก โดยไวรัสหลอกลวงพวกนี้จะมาในรูปของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์  (E-Mail) การส่งข้อความต่อๆกันไปผ่านทางโปรแกรมรับส่งข้อความ หรือห้องสนทนาต่างๆ ซึ่งสามารถสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นได้มากหรือน้อย ก็ขึ้นกับเทคนิค และการใช้จิตวิทยาของผู้สร้างข่าวขึ้นมา โดยส่วนใหญ่จดหมายประเภทนี้จะมีหัวข้อที่ชวนเชื่อ อ้างแหล่งข้อมูล และบริษัทใหญ่ๆเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และเมื่อผู้รับส่งต่อไปยังเพื่อนสนิท และคนคุ้นเคย ก็ยิ่งสร้างความเชื่อมั่นมากขึ้น จากนั้นผู้รับก็จะทำตัวเป็นผู้ส่งต่อๆ ไปอีกหลายๆทอด ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของไวรัสหลอกลวง
               แล้วรู้ไหมครับทำไม Hoax จึงถูกจัดว่าเข้าข่ายไวรัสคอมพิวเตอร์? เพราะว่า ข่าวไวรัสหลอกลวง เป็นการเอาจุดเด่นในด้าน พฤติกรรมของผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถส่งจดหมายหรือข้อความที่เข้าถึงคนหมู่มากได้ในเวลาอันรวดเร็ว มาเป็นเครื่องมือในการสร้างความปั่นป่วน และค่อนข้างได้ผลตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งลักษณะเหล่านี้เปรียบได้กับ ไวรัสในธรรมชาติที่มีการระบากและกระจายตัวไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งบุคคลที่ส่งจดหมายเวียนดังกล่าวออกไป ก็เสมือนพาหะของโรคร้าย และจะกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเราอาจ สังเกตได้ว่าจดหมายหรือข้อความเตือนเหล่านั้นจะวนกลับมาหาเราบ่อยครั้ง
               ส่วนใหญ่ มันทำได้แค่สร้างความรำคาญ ให้กับผู้ที่รู้ว่ามันคือของปลอม เพราะต้องเปลืองแรงลบเมล์ในอินบ็อกซ์( Inbox) อยู่เสมอๆ แต่สำหรับผู้ที่หลงเชื่ออาจสร้างความตื่นตระหนก จนต้องรีบตรวจสอบเครื่องตัวเองอย่างเร่งด่วน เมื่อตรวจสอบพบตามที่ข้อความในอีเมล์แจ้งมาแล้ว จะให้ผู้ดูแลระบบมาจัดการกำจัดไวรัส โดยด่วน เมื่อผู้ดูแลระบบมาถึง แล้วบอกว่านี่ไม่ใช่ไวรัส แต่มันเป็นแค่จดหมายหลอกลวง ก็กลับไม่เชื่อ และ ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือ เมื่อตนเองได้รับอีเมล์นั้น ก็หวังดีส่งต่อข้อความไปเรื่อยๆทำให้เปลืองทรัพยากรของระบบเครือข่ายโดยไม่จำเป็น และอาจกลายเป็นจดหมายลูกโซ่ที่ไม่มีวันจบสิ้นในที่สุด
               ตอนแรกจดหมายจอมปลอมเหล่านี้ มีเนื้อความเป็นภาษาอังกฤษ แต่พอส่งต่อกันไปไม่นานนัก เนื้อความนั้นจะถูกแปลไปเป็นภาษา ต่างๆ มากมายนับสิบภาษา หนึ่งในนั้นรวมถึงภาษาไทยด้วย จะเห็นได้ว่าเนื้อความใน E-Mail จะเน้นย้ำ แนะนำและโน้มน้าวต่างๆ นานา เพื่อให้ผู้อ่านส่งอีเมล์นั้นต่อไปให้ผู้อื่น โดย จะมีรูปแบบการเขียนที่คล้ายกัน ถ้าเราช่างสังเกตจะรู้ได้ทันทีเลยว่า " มันคือของปลอม" ซึ่งวิธีการสังเกตมีดังนี้
  • อีเมล์ดังกล่าวจะไม่มีไฟล์แนบ 
  • ส่วนใหญ่อ้างว่าได้ข้อมูลมาจากแหล่งข่าวที่มีชื่อเสียง แต่ไม่มีลิงค์ไปยังแหล่งข้อมูลนั้น 
  • ประกอบไปด้วยข้อความอวดอ้างเกินจริง เน้นย้ำว่ามีอันตรายมาก 
  • เนื้อความในตอนท้ายเน้นว่าต้องส่งอีเมล์นี้ต่อให้ผู้อื่น เป็นต้น 
               ไม่ใช่แค่อีเมล์ไวรัสจอมปลอมเท่านั้น ที่ควรใช้วิจารณญาณในการส่งต่อ เพราะยังมีอีเมล์บางประเภท เช่น อีเมล์ลูกโซ่ เช่น " ตอนนี้ Hotmail กำลังจะเก็บค่าบริการ ถ้าไม่อยากให้คิดค่าบริการ ให้ส่งอีเมล์นี้ไปให้เพื่อนที่ใช้ Hotmail อีก 100 คน" หรือ " ถ้าส่งต่ออีเมล์นี้แล้วเด็กพิการจะได้ค่าส่งต่ออีเมล์ละ 1 สตางค์" เป็นต้น ซึ่งถ้าเราไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนแล้ว ก็จะเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร และจะไม่ถูกอีเมล์พวกนี้หลอกอีกต่อไป ซึ่งหากเราหลงผิด กระทำตามที่อีเมล์หลอกลวงเหล่านั้นบอก อาจก่อให้เกิดปัญหาที่ยิ่งใหญ่ เกินกว่าที่คาดคิดในภายหลังก็เป็นได้ และถ้าเราได้รับข้อความประเภทนี้ เราควรไม่ปฏิบัติตามเนื้อความในอีเมล์ และไม่ส่งต่อเมล์นั้นโดยเด็ดขาด แต่ถ้าไม่แน่ใจว่ามันเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ให้ปรึกษาผู้รู้ หรือเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ ของผู้ผลิตโปรแกรมป้องกันไวรัสชั้นนำ เช่น http://vil.mcafee.com/hoax.asp หรือ http://www.symantec.com/avcenter/hoax.html เป็นต้น

               และหากท่านพบเห็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อความในทำนองที่กล่าวข้างต้น ชื่อเรื่อง หรือเนื้อหาที่มีในรายการดังต่อไปนี้ ควรลบทิ้งทันทีและไม่ควรส่งต่อให้ผู้อื่น เนื่องจากเป็นข่าวที่ไม่เป็นความจริง และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นที่ได้รับข้อความเหล่านี้ 

Hacker คืออะไร ?

Hacker คือ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบคอมพิวเตอร์อย่างสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครือข่าย , ระบบปฏิบัติการ  จนสามารถเข้าใจว่าระบบมีช่องโหว่ตรงไหน หรือสามารถไปค้นหาช่องโหว่ได้จากตรงไหนบ้าง เมื่อก่อนภาพลักษณ์ของ Hacker จะเป็นพวกชั่วร้าย ชอบขโมยข้อมูล หรือ ทำลายให้เสียหาย  แต่เดี๋ยวนี้ คำว่า Hacker หมายถึง Security Professional ที่คอยใช้ความสามารถช่วยตรวจตราระบบ และแจ้งเจ้าของระบบว่ามีช่องโหว่ตรงไหนบ้าง อาจพูดง่ายๆว่าเป็น Hacker ที่มีจริยธรรมนั่นเอง ในต่างประเทศมีวิชาที่สอนถึงการเป็น Ethical Hacker หรือ แฮกเกอร์แบบมีจริยธรรม ซึ่งแฮกเกอร์แบบนี้เรียกอีกอย่างว่า White Hat Hacker ก็ได้ ส่วนพวกที่นิสัยไม่ดีเราจะเรียกว่าพวกนี้ว่า Cracker หรือ Black Hat Hacker ซึ่งก็คือ มีความสามารถเหมือน Hacker ทุกประการ เพียงแต่พฤติกรรมของ Cracker นั้นจะเป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรรม เช่น ขโมยข้อมูลหรือเข้าไปทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานไม่ได้ เป็นต้น 

วิธีการที่ Hacker และ Cracker ใช้เข้าไปก่อกวนในระบบ Internet มีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมมากมี 3 วิธี ดังนี้
1.Password Sniffers เป็นโปรแกรมเล็กๆที่ซ่อนอยู่ในเครือข่าย และถูกสั่งให้บันทึกการ Log on และรหัสผ่าน (Password) แล้วนำไปเก็บในแฟ้มข้อมูลลับ
2. Spooling เป็นเทคนิคการเข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะทางไกล โดยการปลอมแปลงที่อยู่อินเนอร์เน็ต (Internet Address) ของเครื่องที่เข้าได้ง่ายหรือเครื่องที่เป็นมิตร เพื่อค้นหาจุดที่ใช้ในระบบรักษาความปลอดภัยภายใน วิธีการคือ การได้มาถึงสถานภาพที่เป็นแก่นหรือราก (Root) ซึ่งเป็นการเข้าสู่ระบบขั้นสูงสำหรับผู้บริหารระบบ เมื่อได้รากแล้วจะสร้าง Sniffers หรือโปรแกรมอื่นที่เป็น Back Door ซึ่งเป็นทางกลับลับๆใส่ไว้ในเครื่อง
3. The Hole in the Web เป็นข้อบกพร่องใน World -Wide-Web (WWW) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต เนื่องจากโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติการของ Website จะมีหลุมหรือช่องว่างที่ผู้บุกรุกสามารถทำทุกอย่างที่เจ้าของ Site สามารถทำได้

Firewall กำแพงไฟเหรอ ?

Firewall
Firewall เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software โดยหน้าที่หลัก ๆ ของ Firewall นั้น จะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานระหว่าง Network ต่าง ๆ (Access Control) โดย Firewall จะเป็นคนที่กำหนด ว่า ใคร (Source) , ไปที่ไหน (Destination) , ด้วยบริการอะไร (Service/Port)

ถ้าเปรียบให้ง่ายกว่านั้น นึกถึง พนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ ที่เราเรียกกันติดปากว่า "ยาม"  Firewall ก็มีหน้าที่เหมือนกัน "ยาม" เหมือนกัน  ซึ่ง "ยาม" จะคอยตรวจบัตร เมื่อมีคนเข้ามา ซึ่งคนที่มีบัตร "ยาม" ก็คือว่ามี "สิทธิ์" (Authorized) ก็สามารถเข้ามาได้ ซึ่งอาจจะมีการกำหนดว่า คน ๆ นั้น สามารถไปที่ชั้นไหนบ้าง (Desitnation)  ถ้าคนที่ไม่มีบัตร ก็ถือว่า เป็นคนที่ไม่มีสิทธิ์ (Unauthorized) ก็ไม่สามารถเข้าตึกได้ หรือว่ามีบัตร แต่ไม่มีสิทธิ์ไปชั้นนั้น ก็ไม่สามารถผ่านไปได้  หน้าที่ของ Firewall ก็เช่นกัน



FireWall

Firewall สามารถ แบ่งออกมาตามลักษณะการทำงานหลัก ได้ 3 ประเภท คือ

1. Packet Filtering Firewall :  ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นแรกของเทคโนโลยีของ firewall เลย โดย Packet Filtering Firewall จะทำหน้าที่ตรวจสอบทุก packet ที่ผ่านตัวมันและจะทำการ block หรือ reject ในกรณีที่ packet ที่เข้ามานั้น ไม่มีสิทธิผ่านเข้า/ออก ซึ่งการทำงานของ Packet Filtering Firewall นั้นจะทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่ความปลอดภัยต่ำมาก สาเหตุที่มีความปลอดภัยต่ำ เพราะว่า Packet Filtering Firewall นั้น ตรวจสอบเพียงแค่ Source , Destination และ Port เท่านั้น  จะมีการโจมตีบางประเภทที่ Packet Filtering Firewall ไม่สามารถตรวจจับได้ ยกตัวอย่างเช่น การใช้งาน FTP ซึ่ง FTP นั้นจำเป็นต้องมี 2 Ports ในการทำงาน คือ 20-Authentication และ 21-Data Transfer การ Configure Packet Filetring Firewall นั้น ต้องมีการเปิด Port ทั้ง 2 Port ซึ่งถ้ามี User ใช้งาน FTP อยู่นั้น Attacker สามารถ By Pass Authentication โดยการสวมรอยใช้งานทาง Port 21 ที่เป็น Data Transfer ได้เลย Packet Filtering นั้น ส่วนใหญ่จะอยู่บน Router, Switch หรือที่เราใช้งาน ACL (Access Control List) นั่นเอง ส่วน Software นั้นที่เห็นได้ชัดเลย ก็จะเป็น IPTable ที่ทำงานบน Linux เป็นต้น

Packet Filtering Firewall

2. Application Firewall หรือ Proxy : หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่คุ้นกับคำว่า Application Firewall แต่คงจะคุ้นเคยกับคำว่า Proxy มากกว่า  Proxy นั้นถือว่าเป็นยุคที่ 2 ของ Firewall ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อแก้จุดบกพร่องของ Firewall ในยุคแรก คือ Packet Filtering Firewall โดย Application Firewall นั้น จะทำหน้าที่ เหมือน "คนกลาง" ที่คอยติดต่อระหว่างคนข้างไหน กับ คนข้างนอก   นึกถึงสภาพใน Network ภายในองค์กร  Client ต้องการออกไปข้างนอก จะต้องวิ่งไปหา Proxy ก่อน และ Proxy จะวิ่งออกไปข้างนอก เพื่อเอา Data มาส่งต่อให้กับ Client อีกทีหนึ่ง ซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น เพราะ Client เองไม่ได้ติดต่อกับภายนอกโดยตรง Concept ของ Application Firewall นั้นออกมาได้ค่อนข้างจะดีในเรื่องของ ความปลอดภัย แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของความเร็ว และ Application ที่รองรับ คือ รองรับ Application ได้เพียง HTTP, HTTPS, FTP เท่านั้นเอง ยกตัวอย่าง Application Firewall เช่น Squid , ISA เป็นต้น
Application Firewall

3. Stateful Firewall : ในยุคที่ 3 Stateful Firewall ได้ถูกออกแบบมาเพื่อกำจัดข้อจำกัดของทั้ง Packet Filtering Firewall และ Apllication Firewall ในเรื่องของความปลอดภัยและความเร็วซึ่ง Stateful Firewall สามารถกำจัดข้อจำกัดเหล่านี้ได้ทั้งหมด โดยหลักการการทำงานคือจะมีการจำ State ของแต่ละ Session ที่เกิดขึ้น ว่า Source อะไร คุยกับ Destination อะไร โดยจะเก็บไว้ใน State Table ถ้ามี Source หรือ Destination อื่นเข้ามาสวมรอย ก็จะไม่สามารถทำได้  ซึ่งทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันที่ดีขึ้น และรองรับกับการใช้งาน Service ที่หลากหลายต่าง ๆ ได้ ทั้ง TCP และ UDP  รวมทั้งความเร็วที่ดีกว่า Application Firewall ณ ปัจจุบันนี้ Stateful Firewall ยังเป็น พื้นฐานของ Firewall ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ยีห้อดัง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยี Stateful  ยกตัวอย่างเช่น CheckPoint Firewall-1 , Juniper NetScreen, Fortigate, Cisco ASA เป็นต้น ในตอนนี้ถ้าพูดถึง Firewall ต่าง ๆ เราอาจจะเป็นคำต่าง ๆ เกิดขึ้นมามากมาย เช่น UTM (Unified Threate Management) Firewall, Next Generation Firewall  ซึ่งพื้นฐานของ Firewall เหล่านี้ ก็มาจาก Stateful Firewall ทั้งนั้นครับ
Stateful Firewall


Digital Signature การลงนามดิจิตอล

Digital signature คืออะไร

          Digital signature (การลงนามดิจิตอล) เป็นการลงนามอิเลคทรอนิคส์ที่สามารถใช้ในการรับรองเอกลักษณ์ของผู้ส่งข่าว สารหรือผู้ลงนามเอกสาร และความเป็นไปได้ในการทำความมั่นใจว่าเนื้อหาดั้งเดิมของข่าวสารหรือเอกสาร ที่ได้รับการส่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง การลงนามดิจิตอลสามารถส่งได้ง่าย ไม่สามารถเลียนแบบโดยบางคน และสามารถประทับตราเวลาอย่างทันที ความสามารถทำให้มั่นใจที่ข่าวสารลงนามดั้งเดิมมาถึงหมายความว่าผู้ส่งไม่ สามารถปฏิเสธอย่างง่ายดายต่อมา

          การลงนามดิจิตอลสามารถได้รับการใช้กับข่าวสารชนิดต่างๆ ไม่ว่ามีการ encrypt หรือไม่ อย่างง่ายที่ผู้รับสามารถมั่นใจถึงเอกลักษณ์ของผู้ส่งและข่าวสารไม่เสียหาย การรับรองดิจิตอลเก็บการลงนามดิจิตอลของผู้มีอำนาจเสนอการรับรอง ดังนั้นทุกคนสามารถตรวจสอบว่าการรับรองเป็นของจริง

ทำงานอย่างไร

สมมติท่านกำลังส่งร่างของสัญญาไปให้ทนายของท่านในอีกเมือง ท่านต้องการประกันกับทนายว่าสิ่งนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากการส่งของท่านและ ตามความจริงจากท่าน
           1. ท่านคัดลอกและวางสัญญา (สัญญาสั้น) ไปกับอีเมล์
           2. ใช้ซอฟแวร์พิเศษ บรรจุ message hash (การสรุปทางคณิตศาสตร์) ของสัญญา
           3. จากนั้นท่านใช้ private key ที่ท่านต้องได้รับจากผู้มีอำนาจ public-private key ในการ encrypt กับ hash
           4. encrypted hash กลายเป็นการลงนามดิจิตอลของข่าวสาร (หมายเหตุ สิ่งนี้จะต่างกันในแต่ละครั้งของการส่งข่าวสาร) 

ในปลายอีกด้าน ทนายของท่านได้รับข่าวสาร
          1. ทำให้มั่นใจว่า สิ่งที่ส่งไม่เสียหายและจากท่าน ทนายของท่านทำ hash ของข่าวสารที่รับ
          2. ทนายของท่านใช้ public key เพื่อ decrypt ข่าวสาร hash หรือสรุป
          3. ถ้า hash ตรง ข่าวสารได้รับถูกต้อง

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Digital Certificate ใบรับรอง

Digital Certificate

ด้วยการเข้ารหัสและลายมือชื่อดิจิทัล ในการทำธุรกรรมสามารถรักษาความลับของข้อมูลและรักษาความถูกต้องของข้อมูลแต่สามารถระบุตัวบุคคลได้ระดับหนึ่งเท่านั้น เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยในการระบุตัวบุคคลโดยสร้างความเชื่อถือมากขึ้นด้วย ใบรับรองดิจิทัล (Digital Certificate) ซึ่งออกโดยองค์กรกลางที่เป็นที่เชื่อถือ เรียกว่า องค์กรรับรองความถูกต้อง(Certification Authority) จะถูกนำมาใช้สำหรับยืนยันในตอนทำธุรกรรมว่าเป็นบุคคลนั้นๆจริง ตามที่ได้อ้างไว้

ประเภทของใบรับรองดิจิทัลแบ่งออกเป็นสามประเภท คือ  

  • ใบรับรองเครื่องแม่ข่าย
  • ใบรับรองตัวบุคคล
  • ใบรับรองสำหรับองค์รับรองความถูกต้อง
ตัวอย่างใบรับรอง

(Encryptio/Decryption) การเข้าและถอดรหัส



การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) หมายถึง วิธีการที่ทำเปลี่ยนแปลงข้อมูลเพื่อไม่ให้สามารถแปลความได้จากบุคคลที่เราไม่ต้องการให้เขาเข้าใจข้อมูล ส่วนการถอดรหัสข้อมูล นั้นจะมีวิธีการที่ตรงกันข้ามกับการเข้ารหัสข้อมูล กล่าวคือการถอดรหัส (Decryption) หมายถึง วิธีการที่ทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ได้จากการเข้ารหัสข้อมูล เป็นข้อมูลก่อนที่จะถูกทำการเข้ารหัส การที่จะทำให้ข้อมูลเป็นความลับ จุดหลักคือ ต้องไม่ให้ข้อมูลความลับนี้ถูกอ่านโดยบุคคลอื่น แต่ให้ถูกอ่านได้โดยบุคคลที่เราต้องการให้อ่านได้เท่านั้น โดยการนำเอาข้อความเดิมที่สามารถอ่านได้ (Plain text,Clear Text) มาทำการเข้ารหัสก่อน เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อความเดิมให้ไปเป็นข้อความที่เราเข้ารหัส (Ciphertext) ก่อนที่จะส่งต่อไปให้บุคคลที่เราต้องการที่จะติดต่อด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นสามารถที่จะแอบอ่านข้อความที่ส่งมาโดยที่ข้อความที่เราเข้ารหัสแล้ว
ความต้องการของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล
การระบุตัวบุคคลได้ (Authenticity) คือ การที่เราสามารถที่จะระบุตัวตนของผู้ที่การเข้าถึงข้อมูลภายในระบบได้
การรักษาความลับ (Confidentiality) คือ ความสามารถในการที่จะรักษาความลับที่ไม่ให้ผู้อื่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลภายในระบบได้
การรักษาความลับ (Integrity) คือ ความสามารถในการรักษาความถูกต้องและสมบูรณ์ของข้อมูล
การป้องกันการปฏิเสธความรับผิดชอบ (Non-repudiation) คือ ความสามารถในการป้องกันการปฏิเสธความรับผิดชอบของการเข้าถึงข้อมูลภายในระบบ


Data Classification คืออะไร

Data Classification คืออะไร ?

Data Classification นั้นเป็นกระบวนการสร้างโมเดลจัดการข้อมูลให้อยู่ในกลุ่มที่กำหนดมาให้ เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่าง class หรือ กลุ่มของข้อมูลได้ และเพื่อทำนายว่าข้อมูลนี้ ควรจัดอยู่ใน classใด ซึ่งโมเดลที่ใช้จำแนกข้อมูลออกเป็นกลุ่มตามที่ได้กำหนดไว้ จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์เซตของข้อมูลทดลอง (Training data) โดยนำ Training data มาสอนให้ระบบเรียนรู้ว่ามีข้อมูลใดอยู่ในclass เดียวกันบ้าง ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้ คือ โมเดลจัดประเภทข้อมูล ( classifier model ) โมเดลนี้ สามารถแทนได้ในหลายรูปแบบ เช่น Classification     (IF-THEN) rules, Decision Tree, Mathematical formulae หรือ Neural networks และจะนำข้อมูลส่วนที่เหลือจาก training data เป็นข้อมูลที่ใช้ทดสอบ ( testing data ) ซึ่งเป็นกลุ่มที่แท้จริงของข้อมูลที่ใช้ทดสอบนี้จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มที่หามาได้จากโมเดลเพื่อทดสอบความถูกต้อง โดยเราจะปรับปรุงโมเดลจนกว่าจะได้ค่าความถูกต้องในระดับที่น่าพอใจ หลังจากนั้นเมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามา เราจะนำข้อมูลผ่านโมเดล โดยโมเดลจะสามารถทำนายกลุ่มของข้อมูลนี้ได้

# Data Classification มี 2 ขั้นตอนคือ # 
1. Learning : ข้อมูลทดลอง (Trainning Data) จะถูกวิเคราะห์โดย algorithm ของ classification และ Learning model ถูกแทนในรูปของ classification rules ดังรูป


จากรูปอธิบายได้ว่า classification rules ที่ได้จะสามารถ เรียนรู้ว่าลูกค้าคนใดที่มี credit_rating ที่ excellent หรือว่าfair ซึ่งกฎนี้สามารถใช้ในการจัดกลุ่มของข้อมูลที่เข้ามาใหม่ได้


2. Classification เมื่อได้ classification rules จะมีการตรวจสอบว่ากฎที่ได้สามารถทำนายได้ถูกต้องแม่นยำหรือไม่ โดยการนำเอา test data ที่เราทราบแล้วว่ามันอยู่ในกลุ่มใด ไปเปรียบเทียบกับ learning model จากข้อ 1 5ถ้าหากว่าผลที่ได้มีความถูกต้อง ก็จะสามารถนำ model หรือกฎที่ได้ไปทำนาย credit_rating ของข้อมูลลูกค้าที่เข้ามาใหม่ได้


Cyber Crime (+,.,+)

Cyber Crime คืออะไร ??
Cyber-Crime ตือ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์  เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง

ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้

อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่

  1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
  2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
  3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
  4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว 
  5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง 
  6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด