วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Anti-Virus รู้ไว้ก่อนดีกว่าแก้ที่หลังนะจ๊

Anti-Virus Software คืออะไร ?

โปรแกรมป้องกันไวรัส หรือ แอนติไวรัส (อังกฤษ: antivirus software) เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อคอยตรวจจับ ป้องกัน และกำจัดโปรแกรมคุกคามทางคอมพิวเตอ ร์หรือมัลแวร์ ซึ่งหมายถึง ไวรัส เวิร์ม โทรจัน สปายแวร์ แอดแวร์ และซอฟต์แวร์คุกคามประเภทอื่นๆ

โปรแกรมป้องกันไวรัสมี 2 แบบหลักๆ คือ
1.แอนติไวรัส (Anti-Virus) เป็นโปรแกรมโปรแกรมป้องกันไวรัสทั่วๆไป จะค้นหาและทำลายไวรัสในคอมพิวเตอร์ของเรา
2.แอนติสปายแวร์ (Anti-Spyware) เป็นโปรแกรมป้องกันการโจรกรรมข้อมูล จากไวรัสสปายแวร์ และจากแฮ็กเกอร์ รวมถึงการกำจัด Adsware ซึ่งเป็นป๊อปอัพโฆษณาอีกด้วย


โปรแกรมป้องกันไวรัสจะค้นหาและทำลายไวรัสที่ไฟล์โดยตรง แต่ในทุกๆวันจะมีไวรัสชนิดใหม่เกิดขึ้นมาเสมอ ทำให้เราต้องอัปเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ของเราปลอดภัย โดยแอนติไวรัสจะมีหลายรูปแบบตามบริษัทกันไปและแต่ละบริษัทจะมีการอัปเดตและการป้องกันไม่เหมือนกัน แต่ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวไม่ควรมีแอนติไวรัส 2 โปรแกรมเพราะจะทำให้โปรแกรมขัดแย้งกันเองจนไม่สามารถใช้งานได้

วิธีการใช้ในการตรวจหาไวรัส
โปรแกรมป้องกันไวรัสมีวิธีค้นหาไวรัสอยู่หลายวิธีดังนี้

  • ตรวจสอบ Virus signature

ไวรัสซิกเนเจอร์ คือ สัญลักษณ์ของไวรัส ซึ่งไวรัสแต่ละตัว จะมี สัญลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป เปรียบเหมือนลายเซ็นของคนทั่วไป ที่ล้วนแตกต่างกันออกไป โดยหลักการทำงาน นั้น โปรแกรมป้องกันไวรัส จะมีการตรวจสอบไฟล์ว่ามีรหัสเหมือนกับไวรัสซิกเนเจอร์หรือไม่ ซึ่งหากใช่นั้นหมายถึงว่า ไฟล์ตัวนั้นคือไวรัส
โปรแกรมป้องกันไวรัส จึงควรต้องหมั่นอัปเดตอยู่เป็นประจำ เพื่อให้การป้องกันไวรัส เป็นไปได้อย่างทั่วถึงวิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลาย ในปัจจุบัน

  • ตรวจสอบ คอมเปลี่ยนแปลงของข้อมูล

เป็นการตรวจหาค่าพิเศษที่เรียกว่า Checksum ของไฟล์ ซึ่งถ้าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวไฟล์ ซึ่งอาจเกิดจากไวรัส ค่านี้ก็จะเปลี่ยนแปลง ข้อดีคือ จะตรวจจับไวรัสชนิคใหม่ๆได้ ปัญหาคือต้องแน่ใจว่าตัวเครื่องนั้น ไม่มีการติดเชื้อ

  • ตรวจสอบการกระทำแปลกปลอม

คอยตรวจสอบการกระทำที่แปลกปลอม จากไวรัสต่างๆ
อาทิเช่น พยายามทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขข้อมูลระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต พยายามจดตัวเองในระบบรูต พยายามดาวน์โหลด และ อัปโหลดข้อมูล และไฟล์ต่างๆ

  • ตรวจสอบการกระทำ


เป็นวิธีตรวจจับไวรัสโดยสร้าง Virual machine ที่จุดอ่อนด้านความปลอดภัยจำนวนมาก เมื่อมีการรันโปรแกรมขึ้นมา ตัวโปรแกรมตรวจจับไวรัสจะตรวจสอบการกระทำหากมีการกระทำที่อาจเป็นอันตรายเช่น พยายามเขียนข้อมูลลงบนบูตเซกเตอร์ก็จะแจ้งไปยังผู้ใช้ หากว่าสิ่งที่ผู้ใช้กำลังทำไม่เกี่ยวกับสิ่งที่แจ้ง เช่นกำลังเล่นเกมอยู่แต่มีความพยายามเขียนข้อมูลลงบูตเซกเตอร์ ก็สามารถหยุดการทำงานนั้นลงได้

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อเราตรวจหาไวรัส


  • ไม่ตรวจพบไวรัส

กรณีนี้มักเกิดขึ้นเมื่อไวรัสคอมพิวเตอร์ที่เข้าโจมตีคอมพิวเตอร์ เป็นไวรัสที่ใหม่และไม่มีข้อมูลใน Virus signature หรือไวรัสนั้นเป็นไวรัสที่มีความสามารถในการซ่อนตัว

  • ตรวจพบไวรัสทั้งๆที่ไฟล์ดังกล่าวไม่มีการติดเชื้อ

กรณีนี้เกิดขึ้นได้ หากว่า Virus signature มีขนาดเล็กเกินไป ทำให้โปรแกรมป้องกันไวรัสเข้าใจผิดว่าไฟล์ปกติมีการติดเชื้อ

  • โปรแกรมป้องกันไวรัสไม่ทำงาน


ในกรณีที่ไวรัสมีความสามารถเหนือกว่าโปรแกรมป้องกัน ไวรัสอาจทำการลบเอนจินของโปรแกรมป้องกันไวรัสได้ ทำให้โปรแกรมไม่ทำงาน

รายชื่อโปรแกรมป้องกันไวรัสและโปรแกรมป้องกันสปายแวร์

  1. BitDefender 
  2. ClamWin
  3. Kaspersky
  4. F-Secure Anti-Virus
  5. PC-cillin
  6. ESET Nod32
  7. McAfee VirusScan
  8. Norton AntiVirus
  9. AVG AntiVirus
  10. eTrust EZ Antivirus
  11. Norman Virus Control
  12. AntiVirusKit
  13. AVAST!
  14. Panda Titanium
  15. F-Prot
  16. PCTools AntiVirus
  17. ViRobot Expert
  18. CyberScrub AntiVirus
  19. The Shield AntiVirus
  20. Windows Live OneCare
  21. Spy Sweeper
  22. Aluria Anti-Spyware
  23. CounterSpy
  24. ThreatFire
  25. Trend Micro Anti-Spyware
  26. Spyware Doctor With AntiVirus
  27. SUPERAntiSpyware
  28. PestPatrol
  29. Ad-aware SE Pro
  30. MalwareBytes Anti-Malware
  31. McAfee AntiSpyware
  32. Maxion Spy Killer
  33. SpyHunter
  34. SpyRemover
  35. XoftSpy
  36. Polskie Antywirusowy
  37. AntivirusPL
  38. HijackThis
  39. Windows Defender
  40. Microsoft Security Essentials
  41. Avira AntiVir
  42. eScan


แต่ส่วนมาก ก็จะใช้กันแค่ BitDefender , Kaspersky , ESET Nod32 , AVG Antivirus , Micrisoft Security Essentials , Avira Antivir (ร่มแดงนั้นเอง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น