วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Biometrics ชีวภาพหลบกระสุนเหรอ บ้าไปแว้วว

Biometrics คืออะไรกันแน่นะ ?

บางคนอาจคิดว่าไบโอแมทริกซ์จำกัดวงเฉพาะการใช้ลายพิมพ์นิ้วมือเท่านั้นหรือจริงๆแล้ว ไบโอแมทริกซ์ (biometrics) คือ วิธีการใช้ข้อมูลทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเฉพาะทางกายภาพหรือพฤติกรรม มาใช้ในการตรวจสิทธิหรือแสดงตน เช่น ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ เสียง ม่านตา เรตินา ใบหน้า ดีเอ็นเอ ลายเซ็น เทคโนโลยีดังกล่าวมีให้เห็นกันเช่นในภาพยนต์แนว ไซ-ไฟ หลายเรื่องอาทิ การสแกนม่านตาในหนังเรื่อง "Terminator"หรือการสแกนลายนิ้วมือภาพยนต์สืบสวนสอบสวนที่อิงกับการใช้งานจริงกับ ซีไอเอ หน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐ และสำนักงานสืบสวนสอบสวนคดีำพิเศษสหรัฐ(FBI)
ซึ่งมีการใช้งานมากว่า 25 ปี ภายใต้ชื่อที่เรียกว่า เอฟิส (Automate Fingerprint Iden-tification System : AFIS) เทคโนโลยีลายนิ้วมือ บางคนไม่เชื่อว่าเทคโนโลยีชั้นสูงขนาดนั้นจะโน้มกิ่งมาให้คน
ธรรมดาสามัญอย่างเราๆได้สัมผัส แต่จากคำยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงทำให้รู้ว่า ไบโอเมทริกซ์ กำลังก้าวเข้ามาเป็นส่่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนเราสำหรับเทคโนโลยีการสแกนลายนิ้วมือที่นิยมใช้ในปัจจุบันดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) 

บอกว่าโดยทั่วไปแล้วอาจแบ่งได้   3 ลักษณะได้แก่ 

  • เซ็นเชอร์ประจุไฟฟ้า (CapacitiveSensor) 
  • เซ็นเซอร์อุณภูมิ (Themal Sensor)  
  • เซ็นเซอร์แสง (Optical Sensor)  
เทคโนโลยีสองแบบแรกผู้ใช้ต้องแตะไปที่เซ็นเซอร์โดยตรง ทำให้อายุการใช้งานสั้นและมีปัญหาเรื่องการบำรุงรักษา โดยในต่างประเทศที่มีอากาศหนาวจะเกิดไฟฟ้าสถิตย์ทำลายเซ็นเซอร์ได้  ขณะที่ระบบ
แสงจะทนกว่าและมีคุณสมบัติรวมของเทคโนโลยีอื่นมาไว้ด้วย หลักการทำงานของเซ็นเซอร์แสง คือการสะท้อนกลับหมดของแสง ด้วยการอาศัยแสงสีแดงส่องลายนิ้วมือที่วางอยู่บนเลนส์สะท้อนกลับตัวหัวเซ็นเซอร์ เช่นเดียวกับการใช้นิ้้วจับแก้วที่มีน้ำอยู่ภายใน ซึ่งการสะท้อนของแสง ทำให้เรามองลายนิ้วมือได้อย่างชัดเจน
ผลสรุปทางวิทยาศาสตร์กล่าวว่า มนุษย์ชาติจำนวน 600 ล้านคน เมื่อผ่านมาเป็นระยะเวลา 300ปี จะมีโอกาศที่ลายนิ้วมืิอซ้ำกันเพียง 1 คู่ ในส่วนของทารกเมื่ออยู่ในครรภ์มารดาเป็นเวลา 7 เดือนก็มีลายนิ้วมือเป็นของตัวเอง ครั้นเมื่อโตใหญ่ขึ้นเป็นผู้ใหญ่ลายนิ้วมือก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง เมื่อพบอุบัติเหตุกับลายนิ้วมือร่างกายก็จะซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ ดังนั้นธรรมชาติของลายนิ้วมือจึงเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งเป็นที่ยอมรับของนานาชาติต่อความเป็นเอกลักษณ์ของลายนิ้วมือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น